- Home
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวสารและการอบรม
- หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชน
ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7
หลักการและเหตุผล
ในสภาวการณ์ที่ประเทศชาติกำลังต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาและความเห็นที่แตกต่างและนำไปสู่ความแตกแยกของผู้คนในสังคมในช่วงเวลาที่ผ่านมา สื่อมวลชนจึงเป็นความหวังหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมไปถึงการช่วยบรรเทาเยียวยาเพื่อสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในสังคมได้ แม้ว่าหลายครั้งที่ผ่านมาสื่อมวลชนก็อาจถูกตั้งคำถามถึงบทบาทและการทำหน้าที่ได้เช่นกัน แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ สื่อยังคงเป็นตัวกลางในการสร้างความรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชนและผู้คนในสังคม สื่อจึงต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างประชาชนกับฐานอำนาจของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม บทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงถือว่ามีความสำคัญยิ่ง
ที่ผ่านมา สื่อมวลชนไทยถูกมองว่ามีสิทธิและเสรีภาพในการทำหน้าที่ค่อนข้างมาก แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมาจะมีหลายช่วงเวลาที่มีความพยายามของบรรดากลุ่มทุน กลุ่มการเมืองที่อาจแอบแฝงเข้ามาผ่านเครือข่ายนายทุนนักธุรกิจที่เข้ามาแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อในรูปแบและวิธีการต่าง ๆ รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์และหลักการตลาดเข้าช่วยในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ชูนโยบายใหม่ ๆ เพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นกับกลุ่มและเครือข่ายของตัวเอง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั้งสิ้น ดังนั้นการเพิ่มพูนทักษะความรู้และหลักวิชาการในสมัยใหม่ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสื่อมวลชนในยุคปัจจุบัน
ในยุคของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ทำให้ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมีจำนวนมาก ทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือกต่าง ๆ แม้แต่สื่อหลักอย่างสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ก็มีหลากหลายทางเลือกให้กับผู้บริโภค ยังไม่รวมสื่อสังคมออนไลน์ สื่อภาคประชาชน เรียกได้ว่าทุกคนสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อได้ทั้งสิ้น แต่ถึงที่สุดแล้ว สื่อมวลชนก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนในสังคมให้การยอมรับและเชื่อถือมากกว่า การทำหน้าที่ของสื่อจึงถือว่าสำคัญ แม้ว่าสื่อมวลชนจะมีสิทธิและเสรีภาพในการทำหน้าที่ แต่จะต้องมีความรับผิดชอบควบคู่กันไปด้วย นี่จึงเป็นสิ่งที่ทำให้สื่อมวลชนแตกต่างจากสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ
นับเป็นโอกาสอันดี การที่องค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนของไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และนำไปสู่การการเพิ่มพูนทักษะความสามารถให้กับบุคลากรในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบการเข้าถึงและการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นการช่วยสร้างธรรมาภิบาล ให้เกิดขึ้นและพัฒนาศักยภาพของสื่อในภาคประชาชน ตลอดจนการขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมกับสื่อมวลชน
ดังนั้น ทางสถาบันอิศรา จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมระยะยาวสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อ โดยเฉพาะสื่อทางด้านโทรทัศน์ดิจิทัล จะเห็นว่า ในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา มีการขยายตัวของสื่อโทรทัศน์ที่มีจำนวนช่องที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การผลิตหรือการสร้างบุคลากรเพื่อรองรับธุรกิจสื่อที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วยังไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการไหลเวียนของบุคลากรในวิชาชีพสื่อทางด้านสิ่งพิมพ์และวิทยุเข้ามาทำงานด้านโทรทัศน์แทน ในขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้สื่อข่าวภาคสนามกลายเป็นคนรุ่นใหม่ ที่เพิ่งจบการศึกษาและยังขาดประสบการณ์ แต่ต้องตกอยู่ท่ามกลางสภาวการณ์แข่งขันที่ทวีความรุนแรงของของสื่อโทรทัศน์ ทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในยุคนี้ ด้วยเหตุนี้ สถาบันอิศรา จึงได้ตระหนักถึงบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยให้เป็นกระจกเงาเพื่อสะท้อนความเป็นไปของสังคม และคอยชี้นำแนะแนวทางที่ถูกต้อง และเล็งเห็นถึงความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบุคลากรในวิชาชีพสื่อเป็นอย่างยิ่ง
การจัดโครงการอบรมหลักสูตระยะยาว เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้บริหารระดับกลาง ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระและส่วนราชการ รวมทั้งภาคเอกชน ภายใต้หลักสูตรที่ชื่อว่า หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7 เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารจากองค์กรด้านสื่อสารมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นระหว่างกันร่วมกับนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดแนวคิด สร้างทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้ง ยังสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาชีพของตนเองและประเทศชาติต่อไปได้
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7 สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อเปิดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดและนวัตกรรมใหม่ ๆ ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม ในหัวข้อทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน
3. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการบริหารสำหรับผู้บริหารระดับกลางขององค์กรสื่อและผู้เกี่ยวข้อง
4. เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพและผู้เข้าร่วมอบรมจากภาคส่วนอื่น ๆ ได้ตระหนักถึงจริยธรรมและคุณธรรม
5. เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับนักวิชาการและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7 ในโครงการนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้บริหารระดับกลางจากสื่อมวลชน ตั้งแต่ระดับผู้สื่อข่าวอาวุโส หรือรีไรท์เตอร์ขึ้นไปถึงระดับหัวหน้าข่าวที่มีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 45 ปี ทางด้าน วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากส่วนกลางและท้องถิ่น จำนวน 30 คน
2. นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ที่มีอายุงานตั้งแต่ 7 ปี หรืออายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 45 ปี จำนวน 5 คน
3. ผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน ตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือหัวหน้าโครงการที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 45 ปี จำนวน 5 คน
4. ผู้บริหารองค์กรรัฐหรือองค์กรวิชาชีพ ตั้งแต่ระดับหัวหน้างานขึ้นไปและมีอายุไม่น้อยกว่า 35 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี จำนวน 5 คน
5. ผู้บริหารองค์กรเอกชน ตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกขึ้นไป และอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 45 ปี จำนวน 9 คน
6. ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตร
หมายเหตุ : ในกรณีที่ผู้สมัครเคยเข้ารับการอบรมในหลักสูตร กสต. มาก่อน ต้องเว้นระยะไม่น้อยกว่า 5 รุ่น
จำนวนผู้เข้าอบรม
รวมทั้งสิ้น 54 คน ซึ่งเป็นจำนวนผู้เข้าอบรมที่มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับการกำหนดสัดส่วนจำนวนผู้เข้าอบรมที่มาจากแต่ละกลุ่มวิชาชีพ สิ่งสำคัญทำให้ผู้เข้าอบรมทั้งหมดสามารถจดจำกันได้อย่างทั่วถึง และสอดคล้องกับการจัดทำกิจกรรมกลุ่มในระหว่างการอบรมด้วย
วิธีดำเนินการอบรม
การอบรมหลักสูตรนี้มีวิธีการศึกษาดังนี้
1. การบรรยายและอภิปราย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามเนื้อหาวิชาและหัวข้อที่กำหนด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจากหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรการอบรมยังได้กำหนดให้มีการเปิดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นระหว่างกัน
2. การสัมมนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้กำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจหรือเป็นข้อถกเถียงของสังคม เป็นการจัดเวทีเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน และนำเสนอความคิดเห็น สู่สาธารณะ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน ในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน (ไม่อนุญาตให้เชิญวิทยากรจากภายนอก) ส่วนการจัดสัมมนาสาธารณะถือเป็นผลงานของผู้เข้าอบรมหลักสูตร บสก. รุ่นที่ 7 จึงเปิดโอกาสให้เชิญบุคคลภายนอก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการนำเสนอความคิดเห็น ข้อเท็จจริงในประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพื่อนำไปสู่การเสนอทางออก แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
2.1. ผู้เข้าอบรมทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำสัมมนาทั้ง 2 ส่วน เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมในหลักสูตรนี้
2.2. มีการแบ่งผู้เข้าอบรมออกเป็น 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการจัดสัมมนาหรือเสวนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน โดยเน้นประเด็นปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
2.3. ผู้เข้าอบรมในหลักสูตรนี้ จะต้องร่วมกันรับผิดชอบในการจัดสัมมนาสาธารณะ 1 หัวข้อ โดยกำหนดหัวข้อสัมมนา การเชิญวิทยากรและการจัดเตรียมงานกันเองทั้งหมด
3. การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลของการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรนี้ ดังนั้นผู้เข้าอบรมทุกคนจะต้องจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดยมีหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และจะต้องนำเสนอและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักสูตร ก่อนสิ้นสุดการอบรม
4. การศึกษาดูงาน แบ่งเป็นการศึกษาดูงานในองค์กรด้านสื่อ หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับสื่อ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาดูงานในส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ 1 ครั้ง (ภายใน 1 วัน) และการศึกษาดูงานในส่วนภูมิภาค 2 ครั้ง (2 วัน และ 3 วัน ) ซึ่งผู้เข้าอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการศึกษาดูงานอย่างเหมาะสม
ระยะเวลาและขอบเขตของการอบรม
การอบรมหลักสูตรหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7 กำหนดระยะเวลาในการอบรมรวม 4 เดือนครึ่ง หรือ ประมาณ 19 สัปดาห์ การอบรมทุกวันเสาร์ ระหว่าง วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2560 – วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม 2561 เวลา 09.00 – 16.00 น. สถานที่ใช้ในการจัดอบรม ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน ระยะเวลาในการอบรมรวม 135 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ภาค ดังนี้
1. ภาควิชาการ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมในชั้นเรียนทุกวันเสาร์ ซึ่งการอบรมจะเป็นรูปแบบของ การบรรยาย การอภิปรายและการสัมมนา โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการอบรมสามารถร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ตามหัวข้อที่กำหนด ประกอบด้วย
1.1. การบรรยายและอภิปราย 63 ชั่วโมง
1.2. การสัมมนา 18 ชั่วโมง
การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน 15 ชั่วโมง
การสัมมนาสาธารณะ 3 ชั่วโมง
1.3. การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและชี้แจงการทำรายงาน 18 ชั่วโมง
1.4. การศึกษาดูงาน 3 ครั้ง 36 ชั่วโมง
ส่วนกลาง (1 ครั้ง) 6 ชั่วโมง
ส่วนภูมิภาค (2 ครั้ง) 30 ชั่วโมง
ภาพรวมการแบ่งสัดส่วนแต่ละกลุ่มของการอบรมในหลักสูตรนี้ ประกอบด้วย การบรรยายและอภิปราย คิดเป็น ร้อยละ 46.66 การสัมมนาและการจัดสัมมนาสาธารณะ ร้อยละ 13.33 การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและการชี้แจงการทำรายงาน ร้อยละ 13.33 การศึกษาดูงาน ร้อยละ 26.68
2. ภาคการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและคณะกรรมการที่ปรึกษา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
2.1. การนำเสนอหัวข้อและเค้าโครงรายงานเฉพาะบุคคล
2.2. การปรึกษาคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำรายงานเฉพาะบุคคล
2.3. การนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการและผู้เข้าอบรม คนละ 10 นาที โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาร่วมวิพากษ์และผู้เข้าอบรมร่วมเสนอแนะ และดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเป็นเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลฉบับสมบูรณ์เพื่อนำเสนอคณะกรรมการหลักสูตรและที่ปรึกษาพิจารณา ก่อนการอนุมัติขั้นสุดท้ายโดยผู้อำนวยการสถาบันอิศรา
เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม
การเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7 กำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการอบรมไว้ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีเวลาเข้าฟังและเสนอความคิดเห็นในห้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด
2. มีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดหลักสูตร และต้องเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาดูงาน การจัดสัมมนากลุ่มย่อยและการจัดสัมมนาสาธารณะ
3. จัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลและส่งตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร
4. จัดทำรายงานและนำเสนอผลงานหรืองานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลา และจะต้องส่งฉบับสมบูรณ์เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรในการพิจารณาจบหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
การอบรมครั้งนี้ แบ่งออกเป็นกลุ่มวิชา แยกเป็น 5 หมวด รวม 63 ชั่วโมง ประกอบด้วย
1. โลกแห่งอนาคต จำนวน 15 ชั่วโมง
2. พลวัตประเทศไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง จำนวน 15 ชั่วโมง
3. ภูมิทัศน์สื่อใหม่ จำนวน 15 ชั่วโมง
4. การเสริมทักษะในวิชาชีพ จำนวน 12 ชั่วโมง
5. การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน จำนวน 6 ชั่วโมง
หมวดที่ 1 ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลก แบ่งเป็นมิติด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มของชาติมหาอำนาจต่าง ๆ กับท่าทีและจุดยืนแต่ละขั้วอำนาจกับผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ รวมถึงการเรียนรู้จากบทเรียนที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อมองให้เห็นถึงแนวโน้มและทิศทางในอนาคต ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงแนวคิด วิธีการและรูปแบบในการดำเนินธุรกิจ และหลักการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
1.1. ภูมิศาสตร์การเมืองโลก จำนวน 3 ชั่วโมง
1.2. เทคโนโลยีใหม่ เศรษฐกิจใหม่ (new technology, new economy) จำนวน 3 ชั่วโมง
1.3. สถานการณ์เศรษฐกิจโลก จำนวน 3 ชั่วโมง
1.4. วิถีธุรกิจแห่งอนาคต จำนวน 3 ชั่วโมง
1.5. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกและการพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดที่ 2 ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย ในมิติด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักสิทธิมนุษยชน การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพและระบบการศึกษาไทย เศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
2.1. การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 จำนวน 3 ชั่วโมง
2.2. เศรษฐกิจไทย : โอกาสและความท้าทาย จำนวน 3 ชั่วโมง
2.3. ปัญหาสิทธิมนุษยชนกับทางออก จำนวน 3 ชั่วโมง
2.4. การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพ จำนวน 1.5 ชั่วโมง
การปฏิรูประบบการศึกษา จำนวน 1.5 ชั่วโมง
2.5. คอร์รัปชั่นในสังคมไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องของภูมิทัศน์สื่อใหม่ (New Media Landscape) เพื่อการเรียนรู้เรื่องการปรับตัวของสื่อในยุคปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ตลอดจนการปรับกลยุทธ์การบริหารจัดการเนื้อหา (Content) เพื่อสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มทางการตลาด รวมไปถึงเข้าใจกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสื่อ และจริยธรรมวิชาชีพสื่อ จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
3.1. สื่อมวลชนกับการปรับตัวในยุคดิจิทัล จำนวน 3 ชั่วโมง
3.2. การเรียนรู้ช่องทางการสื่อสารสมัยใหม่ จำนวน 3 ชั่วโมง
3.3. การทำการตลาดจากเนื้อหา (Content Marketing) จำนวน 3 ชั่วโมง
3.4. ระบบกำกับดูแลในภูมิทัศน์สื่อใหม่ จำนวน 3 ชั่วโมง
3.5. จริยธรรมสื่อในยุค 4.0 จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องการเพิ่มเติมทักษะการทำงานสื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมาก หรือข้อมูลที่มีความซับซ้อนเข้าใจยาก ใช้เทคนิควิธีการสังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารให้มีความน่าสนใจ ชัดเจน และสื่อสารได้ตรงประเด็น จำนวน 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย
4.1. วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Data Journalism) จำนวน 3 ชั่วโมง
4.2. การแสดงข้อมูลแบบประยุกต์ (Data Visualization) จำนวน 3 ชั่วโมง
4.3. การบริหารจัดการสื่อออนไลน์ จำนวน 3 ชั่วโมง
4.4. การเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Creative Writing) จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดที่ 5 ว่าด้วยประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ จำนวน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย
5.1. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง
5.2. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 จำนวน 3 ชั่วโมง
กำหนดการหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชน
ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7
ระยะเวลาการอบรม 4 เดือนครึ่ง หรือ 19 สัปดาห์ (135 ชั่วโมง)
ระหว่างวันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2560 – วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม 2561
เตรียมตัวสัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2560 |
|
|
การปฐมนิเทศ ผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7 ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน |
เตรียมตัวสัปดาห์ที่ 2 วันเสาร์ที่ 7 – วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม 2560 |
|
|
การสัมมนาเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการอบรม ณ โรงแรมเดอะไทด์ รีสอร์ท บางแสน จังหวัดชลบุรี |
วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2560 |
|
|
วันหยุดต่อเนื่องวันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9 |
สัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 1) |
วิถีธุรกิจแห่งอนาคต โดย นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ บริษัทป่าสาละ จำกัด |
(หัวข้อที่ 2) |
เทคโนโลยีใหม่ เศรษฐกิจใหม่ (new technology, new economy) โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) |
วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2560 |
|
|
วันหยุดต่อเนื่องวันพระราชพิธีถวายพระเพลิง รัชกาลที่ 9 |
สัปดาห์ที่ 2 วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2560 |
|
(หัวข้อที่ 3) |
สถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดย ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) |
|
ชี้แจงการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดย คณะกรรมการที่ปรึกษารายงานเฉพาะบุคคล |
การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล กรอบและแนวทางการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเบื้องต้น โดย รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ นักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดี คณะนิเทศศาสตร์และการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
|
สัปดาห์ที่ 3 วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2560 |
|
|
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 1 หัวข้อ “เสรีภาพสื่อมวลชน” |
(หัวข้อที่ 4) |
ภูมิศาสตร์การเมืองโลก โดย ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
สัปดาห์ที่ 4 วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2560 |
|
|
ศึกษาดูงานส่วนกลาง ณ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซีพีแรม จำกัด สำนักงานใหญ่ (ลาดหลุมแก้ว) |
สัปดาห์ที่ 4 (ต่อ) วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2560 |
|
|
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 2 หัวข้อ “จริยธรรมสื่อมวลชน” |
(หัวข้อที่ 5) |
การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 โดย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
สัปดาห์ที่ 5 วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2560 |
|
|
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 3 หัวข้อ "อนาคตทีวีดิจิทัล” |
|
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 4 หัวข้อ “อาชีพสื่อ หรือ สื่อมืออาชีพ” |
สัปดาห์ที่ 6 วันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 6) |
มุมมองด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย ดร.เดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
(หัวข้อที่ 7) |
Policy Literacy : คำถามที่สาธารณชนควรถามเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ โดย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) |
วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2560 |
|
|
วันหยุดต่อเนื่องวันรัฐธรรมนูญ |
สัปดาห์ที่ 7 วันศุกร์ที่ 15 – วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2560 |
|
|
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดกาญจนบุรี – จังหวัดเพชรบุรี – จังหวัดสมุทรสาคร |
สัปดาห์ที่ 8 วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2560 |
|
|
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 5 หัวข้อ “ภูมิทัศน์สื่อใหม่” |
(หัวข้อที่ 8) |
จริยธรรมสื่อในยุค 4.0 โดย นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ |
วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 2560 |
|
|
วันหยุดต่อเนื่องเทศกาลปีใหม่ |
สัปดาห์ที่ 9 วันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2561 |
|
(หัวข้อที่ 9) |
การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพ โดย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) |
การปฏิรูประบบการศึกษา โดย รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ |
|
(หัวข้อที่ 10) |
ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 หัวข้อ รีเชค หรือ รีเซ็ท พรรคการเมือง ใครได้ประโยชน์ โดย นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหน้าหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล หัวหน้าฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
สัปดาห์ที่ 10 วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2561 |
|
(หัวข้อที่ 11) |
คอรัปชั่นในสังคมไทย โดย นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน |
(หัวข้อที่ 12) |
สื่อมวลชนกับการปรับตัวในยุคดิจิทัล โดย นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) |
สัปดาห์ที่ 11 วันศุกร์ที่ 19 – วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2561 |
|
|
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดเชียงราย – จังหวัดเชียงใหม่ |
สัปดาห์ที่ 12 วันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2561 |
|
(หัวข้อที่ 13) |
การเรียนรู้ช่องทางการสื่อสารสมัยใหม่ โดย ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
(หัวข้อที่ 14)
|
การทำการตลาดจากเนื้อหา (Content Marketing) โดย นางสาวปภาดา อมรนุรัตน์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัพเลเวลโกล จำกัด ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง SEO เลขาธิการชมรมเสริ์ชเอนจิ้นมาร์เก็ตติ้งไทย ผู้เขียนหนังสือ รวยด้วยคลิก Google Adsense |
สัปดาห์ที่ 13 วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561 |
|
(หัวข้อที่ 15) |
ระบบกำกับดูแลในภูมิทัศน์สื่อใหม่ โดย นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง หัวหน้าโครงการอินเทอร์เน็ตศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และคณะทำงาน NBTC Policy Watch |
|
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (1) |
สัปดาห์ที่ 14 วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 |
|
(หัวข้อที่ 16) |
ปัญหาสิทธิมนุษยชนกับทางออก โดย นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาประจำประเทศไทย ของฮิวแมนไรท์วอทช์ |
|
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (2) |
สัปดาห์ที่ 15 วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561 |
|
(หัวข้อที่ 17) |
วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Data Journalism) โดย นางสาวบุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า นายฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ ผู้ก่อตั้งบุญมีแล๊ป และ Interaction Designer ดร.ภูริพันธ์ รุจิขจร ก่อตั้งบุญมีแล๊ป และ Data Specialist |
|
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (3) |
สัปดาห์ที่ 16 วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 |
|
(หัวข้อที่ 18) |
การแสดงข้อมูลแบบประยุกต์ (Data Visualization) โดย นายพีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์ ผู้จัดการด้านงานสร้างสรรค์และสื่อสารธารณะ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) |
|
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (4) |
สัปดาห์ที่ 17 วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม 2561 |
|
(หัวข้อที่ 19) |
ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 หัวข้อ “Bitcoin จริงหรือลวง” โดย ผศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายปริญญา หอมเอนก ประธานและผู้ก่อตั้ง ACIS Professional Center Co., Ltd. (ACIS) |
|
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (5) |
สัปดาห์ที่ 18 วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม 2561 |
|
(หัวข้อที่ 20) |
การบริหารจัดการสื่อออนไลน์ โดย นางสาวสุธิดา มาไลยพันธุ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานด้านสื่อดิจิตอล Head of Digital Business บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการเว็บไซต์ Manager Online |
(หัวข้อที่ 21) |
การเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Creative Writing) โดย นายนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร The Standard นายนิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล กรรมการบริหาร Jamsai Group (แจ่มใส กรุ๊ป)
|
สัปดาห์ที่ 19 วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม 2561 |
|
|
การจัดสัมมนาสาธารณะ หัวข้อ พลังโซเชียลเปลี่ยนการเมืองไทยจริงหรือ? ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดย ผู้เข้าอบรมหลักสูตร (บสก.) รุ่นที่ 7 |
หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในองค์กรสื่อมวลชน ทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น ประกอบด้วยสื่อ ด้านวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ รวมทั้งภาคเครือข่ายอื่น ๆ จากภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้รับการพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและกฎหมายรวมทั้งกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศ ในขณะที่เครือข่ายอื่น ๆ ได้เข้าใจและดำเนินการร่วมมือกับสื่อมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
2. เกิดการประสานงานเป็นเครือข่ายร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการอบรมเพื่อมีส่วนร่วมในการผลักดันสังคมไปสู่การสื่อสารที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะบางประเด็นที่มีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร (เอ็นจีโอ) กับหน่วยงานหรือรัฐวิสาหกิจ มีจุดในบางเรื่องที่แตกต่างกัน แต่ประโยชน์ของการสร้างเป็นเครือข่ายกัน ทำให้แต่ละฝ่ายพร้อมจะเปิดใจรับฟังความเห็นของอีกฝ่ายหนึ่งในขณะที่อีกฝ่ายก็พร้อมรับฟังข้อท้วงติงของอีกฝ่ายเช่นกันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าอบรมด้วยกัน ทำให้เกิดมุมมองแนวคิดใหม่ ๆร่วมกันด้วย
3. กลุ่มประชาชนผู้รับสาร ได้ข้อมูลข่าวสารจากผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพด้านองค์ความรู้และทักษะทางด้านวิชาชีพต่าง ๆ เนื่องจากสื่อมวลชนถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อผู้คนและสามารถชี้นำทิศทางของสังคมได้ ดังนั้นสื่อที่ดี มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีจริยธรรมแห่งวิชาชีพที่ดีจะผลิตเนื้อหาข่าวสารและสาระความรู้ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและส่วนรวมในทิศทางที่ดีตามไปด้วย โดยเฉพาะแนวคิด ทฤษฎีและองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นแทบตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนในวิชาชีพสื่อมวลชนจะต้องได้รับการพัฒนาเรียนรู้เพิ่มเติมทักษะเหล่านี้
คณะกรรมการหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7
1. นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ ประธานคณะกรรมการหลักสูตร
รองประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
2. รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร กรรมการหลักสูตร
นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
3. ดร.เดชรัต สุขกำเนิด กรรมการหลักสูตร
หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4. นายเทพชัย หย่อง กรรมการหลักสูตร
นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและประธานคณะกรรมการสื่อเพื่อการปฏิรูป
5. นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง กรรมการหลักสูตร
กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
6. นายปกป้อง จันวิทย์ กรรมการหลักสูตร
ประธานกรรมการบริษัทดิ วันโอวัน เปอร์เซ็นต์ จำกัด
7. นางวีนัส อัศวสิทธิถาวร กรรมการหลักสูตร
Director Enterprise Brand Management Office
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG)
8. ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการหลักสูตร
กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทลลิเจนท์ รีเสิร์ซ แอนด์ คอนเซาท์ (ประเทศไทย) จำกัด
9. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ กรรมการหลักสูตร
ที่ปรึกษาสถาบันอิศรา
รายชื่อผู้เข้าอบรม
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 7 จำนวน 56 คน
สถานีโทรทัศน์ – วิทยุ – เคเบิลทีวี – สื่อออนไลน์ – นิตยสาร จำนวน 25 คน
ลำดับที่ |
ชื่อ- สกุล |
ตำแหน่ง |
สังกัด |
1 |
นางสาวเกษศิรินทร์ อภิรัตนวงศ์ |
นักประชาสัมพันธ์ |
กรมประชาสัมพันธ์ |
2 |
นางฉวีวรรณ์ เปยาคม |
ผู้อำนวยการฝ่ายขาย |
สถานีโทรทัศน์ไบรท์ทีวี |
3 |
นายเฉลิมศักดิ์ บุญประคอง |
บรรณาธิการข่าว |
บริษัท อ่างทองเคเบิลทีวี จำกัด |
4 |
นางสาวชฎาพร ชัยขันธ์ |
ผู้อำนวยการฝ่ายรายการและข่าว |
ไฮเคเบิลทีวี จังหวัดสงขลา |
5 |
นายชลธิศ แก้วประเสริฐสม |
เจ้าหน้าที่แผนและยุทธศาสตร์ข่าวอาวุโส |
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส |
6 |
นายธนากร ริตุ |
ผู้สื่อข่าวอาวุโส |
สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี |
7 |
นางสาวธัญญ์นิธิ คำแถม |
บรรณาธิการข่าว |
สถานีโทรทัศน์ MCOT Family |
8 |
นางธัญศญา ทองศักดิ์ |
รองผู้อำนวยการสถานี |
สถานีวิทยุ วทท. เซ็นเตอร์เรดิโอ จังหวัดอ่างทอง |
9 |
นายนนทกฤช กลมกล่อม |
ผู้ประกาศข่าว |
สถานีโทรทัศน์โมโนทีวี |
10 |
นางสาวนนท์สมร ศานติวงศ์สกุล |
ผู้ช่วยบรรณาธิการ |
สถานีโทรทัศน์ทรูโฟร์ยู |
11 |
นางสาวปุลญดา บัวคณิศร |
บรรณาธิการข่าว |
สถานีวิทยุสปริงเรดิโอ |
12 |
นางสาวพัสวี ฐิติพรวัฒนกุล |
หัวหน้าผู้ประกาศ |
สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี |
13 |
นางพิมลพรรณ มณีวรรณ |
หัวหน้าฝ่ายข่าวและผลิตรายการ |
สถานีเคเบิลซีทีวี จังหวัดจันทบุรี |
14 |
นายภาณุพงศ์ ส่องสว่าง |
ผู้ช่วยหัวหน้าข่าวเว็บไซต์ |
เดลินิวส์ออนไลน์ |
15 |
นายรุ่งศักดิ์ เหลืองหิรัญภูษิต |
ผู้สื่อข่าวอาวุโส |
สถานีโทรทัศน์ช่องวัน |
16 |
นายฤทธิชัย ชูวงษ์ |
บรรณาธิการข่าว |
สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ทีวี |
สถานีโทรทัศน์ – วิทยุ – เคเบิลทีวี – สื่อออนไลน์ – นิตยสาร (ต่อ)
ลำดับที่ |
ชื่อ- สกุล |
ตำแหน่ง |
สังกัด |
17 |
นางสาวศิรณัชชา วุฒิประพันธ์พงศ์ |
รองเลขาธิการ |
สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย |
18 |
นางสาวสมิตา ทวีจันทร์ |
โปรดิวเซอร์ข่าว |
สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ |
19 |
นายสันติวิธี พรหมบุตร |
ผู้สื่อข่าวอาวุโส กองบรรณาธิการข่าวเฉพาะกิจ |
สถานีโทรทัศน์ MCOT HD |
20 |
นายสามารถ โฉมเกิด |
ผู้อำนวยการสถานี |
สถานีวิทยุ วทท.วังแดง จังหวัดพิจิตร |
21 |
นายสุเมธ โตเกษร |
บรรณาธิการข่าวการเมือง |
สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 |
22 |
นางสาวสุวินา เอี่ยมสุทธา |
ผู้ช่วยผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำสำนักกิจการพิเศษ |
สถานีข่าว TNN 24 |
23 |
นายอภิรักษ์ โรจน์อำพร |
บรรณาธิการบริหาร |
ไทยรัฐออนไลน์ |
24 |
นางสาวอาทิตยา บุญอาจ |
ผู้ช่วยผู้จัดการส่วนงานวิเคราะห์ข้อมูล |
สถานีโทรทัศน์ PPTV |
25 |
นายวิโรจน์ สุขพิศาล |
ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ |
บริษัท ดิ วันโอวัน เปอร์เซ็นต์ จำกัด |
หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง / รายวัน / รายสัปดาห์/ภูมิภาคจำนวน 7 คน
ลำดับที่ |
ชื่อ- สกุล |
ตำแหน่ง |
สังกัด |
1 |
นายกิตติศักดิ์ ศิริคลังเจริญรุ่ง |
บรรณาธิการ |
หนังสือพิมพ์คู่แผ่นดิน จังหวัดอุดรธานี |
2 |
นายเกรียงศักดิ์ จุนโนนยางค์ |
ผู้สื่อข่าวต่างประเทศอาวุโส |
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ |
3 |
นายจักรพัชร บูรณะบุตร |
บรรณาธิการ |
บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน) |
4 |
นางสาวณัษฐพร อินทร์คง |
ผู้ช่วยหัวหน้าข่าวภูมิภาค |
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ |
5 |
นายพีรภัทร์ เกื้อวงศ์ |
ผู้ช่วยหัวหน้าข่าวหน้า 1 |
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ |
6 |
นายเมธา สกาวรัตน์ |
หัวหน้าข่าวไอที |
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ |
7 |
นางสาวอภิญญา วิภาตะโยธิน |
ผู้สื่อข่าวอาวุโสสายสิ่งแวดล้อม |
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ |
นักวิชาการจำนวน 2 คน
ลำดับที่ |
ชื่อ- สกุล |
ตำแหน่ง |
สังกัด |
1 |
นางสาวญาธินี ตันติวิวัฒน์ |
เจ้าหน้าที่จัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ |
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) |
2 |
นางสาวสุดถนอม รอดสว่าง |
หัวหน้าหลักสูตรวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ |
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
องค์กรพัฒนาเอกชนจำนวน 5 คน
ลำดับที่ |
ชื่อ- สกุล |
ตำแหน่ง |
สังกัด |
1 |
แพทย์หญิงฉัฐญาณ์ วงศ์รัฐนันท์ |
ผู้ช่วยคณบดี คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี |
มหาวิทยาลัยมหิดล |
2 |
นางสาวบงกช จูฑะเตมีย์ |
นักวิชาการอาวุโส |
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) |
3 |
นางพรวลัย ประเสริฐวุฒิวัฒนา |
นักวิชาการวิชาชีพการพยาบาล |
สภาการพยาบาล |
4 |
นางสาววาสนา วงค์ฉายา |
กรรมการสมาคม |
สมาคมวิทยุและสื่อ เพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) |
5 |
นายชัยรัตน์ ราชปักษี |
เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน |
มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) |
องค์กรรัฐที่เป็นอิสระ / องค์กรในกระบวนการยุติธรรมจำนวน 6 คน
ลำดับที่ |
ชื่อ- สกุล |
ตำแหน่ง |
สังกัด |
1 |
พ.ต.ท.หญิง ดวงสมร โสภณธาดา |
รองผู้กำกับการ กลุ่มงานระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ |
กองตำรวจสื่อสาร สำนักงานสารสนเทศและการสื่อสาร |
2 |
นางสาวนลินทิพย์ เลิศไพบูลย์ |
พนักงานปฏิบัติการระดับสูง สำนักสื่อสารองค์กร |
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) |
3 |
นายวุฒิชัย พุ่มสงวน |
อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด |
สำนักงานอัยการสูงสุด |
4 |
นางสาวศรีศศิ ใช้ไหวพริบ |
พนักงานปฏิบัติการระดับสูง สำนักสื่อสารองค์กร |
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) |
5 |
นายศิวพงษ์ จันทเวช |
กรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท |
สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
6 |
นายสัญญา จีระออน |
ผู้ช่วย ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1 |
สำนักงานศาลยุติธรรม |
บริษัทเอกชนจำนวน 11 คน
ลำดับที่ |
ชื่อ- สกุล |
ตำแหน่ง |
สังกัด |
1 |
นางสาวขวัญแก้ว ลิ่วเฉลิมวงศ์ |
ผู้ชำนาญการ ฝ่ายการประชาสัมพันธ์ |
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
2 |
นายชินโชติ ปลัดชัย |
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร |
ธนาคารออมสิน |
3 |
นางสาวนันท์นิชา จิตต์เอี่ยม |
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร |
บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด |
4 |
นายนิชธ์นาวิน จุลละพราหมณ์ |
ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสาธารณะ |
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) |
5 |
นายปณภัช วงศ์พรหม |
ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม |
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) |
6 |
นางสาวปรวรรณ ปานปั้น |
เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ |
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) |
7 |
นางสรญา ประทุมวงษ์ |
พนักงานสื่อสารองค์กร |
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) |
8 |
นายมารุต เดชติศักดิ์ |
ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ |
บริษัท สานฟ้า จำกัด |
9 |
นางสุริศา สิทธิวรรณ |
ผู้ชำนาญการด้านประชาสัมพันธ์ |
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) |
10 |
นางสาวอุษณา ศรีวิชา |
ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ |
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) |
11 |
นางเอื้อมพร สิงหกาญจน์ |
ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายประชาสัมพันธ์ |
บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) |