- Home
- หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)
- หลักการและเหตุผล
- หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชน ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 6
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชน ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 6
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 6
จัดโดย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
ในสภาวการณ์ที่ประเทศชาติกำลังต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาและความเห็นที่แตกต่าง สื่อมวลชนจึงเป็นความหวังหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อช่วยบรรเทาและเยียวยาสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมได้ ในขณะเดียวกันสื่อมวลชนก็อาจถูกตั้งคำถามถึงบทบาทและการทำหน้าที่ได้เช่นกัน เพราะสื่อคือตัวกลางในการสร้างความรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน สื่อจึงต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างประชาชนกับฐานอำนาจของกลุ่มการเมือง
สถานการณ์คุกคามสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยเริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีทั้งรูปแบบและวิธีการใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยและแยบยลจนยากที่จะแยกได้ว่า นั่นก็คือ การแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อ ความพยายามของกลุ่มทุนที่แอบแฝงเข้ามาอยู่ในกลุ่มธุรกิจการเมืองการใช้กลยุทธ์และหลักการตลาดเข้ามาช่วยในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ชูนโยบายใหม่ๆ เพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นกับกลุ่มของตัวเอง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั้งสิ้น
นับเป็นโอกาสอันดี การที่องค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องการปฏิรูปสื่อ โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ถือว่าเป็นการช่วยสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นในการช่วยพัฒนาระบบการเข้าถึงและการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นและช่วยสร้างศักยภาพของสื่อในภาคประชาชน ตลอดจนช่วยในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคมกับสื่อมวลชน
ดังนั้น สถาบันอิศรา จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมระยะยาวให้แก่ผู้บริหารระดับกลางของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระและส่วนราชการ รวมทั้งภาคเอกชน ภายใต้หลักสูตรที่ชื่อว่า “ หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)” รุ่นที่ 6 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารจากองค์กรด้านสื่อ นักวิชาการ และภาคเอกชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการคิดหาแนวทางร่วมกับนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อช่วยในการพัฒนาและเป็นการส่งเสริมให้เกิดแนวคิด สร้างทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาชีพของตนเองและประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 6 บรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในการสร้างความเป็นผู้นำและการบริหารบุคลากรให้กับนักบริหารสื่อ และผู้เกี่ยวข้อ
2. เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในด้านคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ
3. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้อง
4 . เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับนักวิชาการและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลางในโครงการนี้
แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้บริหารระดับกลางจากสื่อมวลชน ตั้งแต่ระดับผู้สื่อข่าวอาวุโส หรือรีไรท์เตอร์ขึ้นไปถึงระดับหัวหน้าข่าวที่มีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ทางด้านหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์และสื่อใหม่ จากส่วนกลางและท้องถิ่น จำนวน 30 คน
2. นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ที่มีอายุงานตั้งแต่ 7 ปี หรืออายุ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
3. ผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน ตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือหัวหน้าโครงการที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
4. ผู้บริหารองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ตั้งแต่ระดับหัวหน้างานขึ้นไป และมีอายุไม่น้อยกว่า 35 ปี จำนวน 5 คน
5. ผู้บริหารองค์กรเอกชน ตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกขึ้นไป และอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี จำนวน 9 คน
6. ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตร
จำนวนผู้เข้าอบรม
รวมทั้งสิ้น 54 คน
วิธีดำเนินการอบรม
การอบรมหลักสูตรนี้มีวิธีการศึกษาดังนี้
1. การบรรยายและอภิปราย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามเนื้อหาวิชาและหัวข้อที่กำหนด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจากหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรการอบรมยังได้กำหนดให้มีการเปิดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นระหว่างกัน
2. การสัมมนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้กำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจหรือเป็นข้อถกเถียงของสังคม เป็นการจัดเวทีเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน และนำเสนอความคิดเห็นสู่สาธารณะ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน ในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน (ไม่อนุญาตให้เชิญวิทยากรจากภายนอก) ส่วนการจัดสัมมนาสาธารณะถือเป็นผลงานของผู้เข้าอบรมหลักสูตร บสก. รุ่นที่ 6 จึงเปิดโอกาสให้เชิญบุคคลภายนอก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการนำเสนอความคิดเห็น ข้อเท็จจริง เพื่อนำไปสู่การเสนอทางออก แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
2.1. ผู้เข้าอบรมทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำสัมมนาทั้ง 2 ส่วน เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมในหลักสูตรนี้
2.2. มีการแบ่งผู้เข้าอบรมออกเป็น 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการจัดสัมมนาหรือเสวนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน ส่วนประเด็นเกี่ยวกับปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
2.3. ผู้เข้าอบรมหลักสูตร บสก. รุ่นที่ 6 จะต้องร่วมกันรับผิดชอบในการจัดสัมมนาสาธารณะ 1 หัวข้อโดยกำหนดหัวข้อสัมมนา การเชิญวิทยากรและการจัดเตรียมงานทั้งหมด
3. การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลของการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรนี้ ดังนั้นผู้เข้าอบรมทุกคนจะต้องจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดยมีหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และจะต้องนำเสนอและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักสูตรภายในวันเสาร์ที่ 15 ต.ค. 2559
4. การศึกษาดูงาน แบ่งเป็นการศึกษาดูงานในองค์กรด้านสื่อ หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับสื่อ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาดูงานในส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ 1 ครั้ง (ภายใน 1 วัน) และการศึกษาดูงานในส่วนภูมิภาค 2 ครั้ง (2 วัน และ 3 วัน ) ซึ่งผู้เข้าอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการศึกษาดูงาน
ระยะเวลาและขอบเขตของการอบรม
การอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง ( บสก. ) รุ่นที่ 6 กำหนดระยะเวลาในการอบรมรวม 4 เดือนครึ่ง หรือ ประมาณ 19 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – วันที่ 15 ตุลาคม 2559 มีการอบรมทุกวันเสาร์ ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. สถานที่ที่ใช้ในการจัดอบรม ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน ระยะเวลาในการอบรมรวม 135 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ภาค ดังนี้
1. ภาควิชาการ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมในชั้นเรียนทุกวันเสาร์ ซึ่งการอบรมจะเป็นรูปแบบของ การบรรยาย การอภิปรายและการสัมมนา โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการอบรมสามารถร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ตามหัวข้อที่กำหนด ประกอบด้วย
1.1. การบรรยายและอภิปราย 63 ชั่วโมง
1.2. การสัมมนา 18 ชั่วโมง
การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน 15 ชั่วโมง
การสัมมนาสาธารณะ บสก. 6 3 ชั่วโมง
1.3. การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและชี้แจงการทำรายงาน 18 ชั่วโมง
1.4. การศึกษาดูงาน 3 ครั้ง 36 ชั่วโมง
ส่วนกลาง (1 ครั้ง) 6 ชั่วโมง
ส่วนภูมิภาค (2 ครั้ง) 30 ชั่วโมง
ภาพรวมการแบ่งสัดส่วนแต่ละกลุ่มของการอบรมในหลักสูตรนี้ ประกอบด้วย การบรรยายและอภิปราย คิดเป็นร้อยละ 46.66 การสัมมนาและการจัดสัมมนาสาธารณะ ร้อยละ 13.33 การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและการชี้แจงการทำรายงาน ร้อยละ 13.33 การศึกษาดูงาน ร้อยละ 26.68
2. ภาคการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและคณะกรรมการที่ปรึกษา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
2.1. การนำเสนอหัวข้อและเค้าโครงรายงานเฉพาะบุคคล
2.2. การปรึกษาคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำรายงานเฉพาะบุคคล
2.3. การนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการและผู้เข้าอบรม คนละ 10 นาที โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาร่วมวิพากษ์และผู้เข้าอบรมร่วมเสนอแนะ และดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเป็นเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลฉบับสมบูรณ์เพื่อนำเสนอคณะกรรมการหลักสูตรและที่ปรึกษาพิจารณา ก่อนการอนุมัติขั้นสุดท้ายโดยผู้อำนวยการสถาบันอิศรา
เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม
การเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 6 ได้กำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการอบรมไว้ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีเวลาเข้าฟังและเสนอความคิดเห็นในห้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด
2. จัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลและส่งตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร
3. จัดทำรายงานและนำเสนอผลงานหรืองานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลา และจะต้องส่งฉบับสมบูรณ์ก่อนวันปิดการอบรม 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาในการพิจารณาเพื่ออนุมัติการจบหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
การอบรมครั้งนี้ แบ่งออกได้เป็น 5 หมวดวิชา ดังนี้
1. การเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 ชั่วโมง
2. เศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 12 ชั่วโมง
3. สังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน จำนวน 15 ชั่วโมง
4. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพ จำนวน 15 ชั่วโมง
5. วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน จำนวน 6 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 1 ว่าด้วยการเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
- การปฏิรูปรัฐธรรมนูญไทย : รัฐธรรมนูญ 2559 จำนวน 3 ชั่วโมง
- บทบาท อำนาจ กับการปฏิรูปองค์กรอิสระ จำนวน 3 ชั่วโมง
- ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม จำนวน 3 ชั่วโมง
- ภัยคุกคามความมั่นคงในโลกยุคใหม่ จำนวน 3 ชั่วโมง
- โครงสร้างการกระจายอำนาจกับการตรวจสอบ จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 2 ว่าด้วยเศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย
- ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
- นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จำนวน 3 ชั่วโมง
- นโยบายประชารัฐ กับประชานิยม จำนวน 3 ชั่วโมง
- การปฏิรูประบบรัฐวิสาหกิจไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 3 ว่าด้วยปัญหาสังคม การศึกษา สาธารณสุข พลังงานและสิทธิมนุษยชน จำนวน 15 ชั่วโมง
ประกอบด้วย
- รู้เท่าทันการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
- วิกฤติการปฏิรูปการศึกษาไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
- ปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย : การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว ฯลฯ จำนวน 3 ชั่วโมง
- ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปัญหาและทางออก จำนวน 3 ชั่วโมง
- การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับการบริหารสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพ จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
4.1. บริหารสื่ออย่างโดนใจและได้จริยธรรม จำนวน 3 ชั่วโมง
4.2. การปฏิรูปสื่อ ปฏิรูป กสทช. จำนวน 3 ชั่วโมง
4.3. การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของสื่อยุคดิจิตอล จำนวน 3 ชั่วโมง
4.4. ประชาคมอาเซียนหลังปี 2015 จำนวน 3 ชั่วโมง
4.5. ปัญหาจริยธรรมนักวิชาชีพสื่อ จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 5 ว่าด้วยประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ จำนวน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย
5.1. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง
5.2. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 จำนวน 3 ชั่วโมง
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 6
ระยะเวลาการอบรม 4 เดือนครึ่ง หรือ 19 สัปดาห์
ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – วันที่ 15 ตุลาคม 2559
วันเสาร์ที่ 30 เม.ย. 2559 |
|
การปฐมนิเทศผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 6 |
|
วันเสาร์ที่ 14 – วันอาทิตย์ที่ 15 พ.ค. 2559 |
|
|
การสัมมนาเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 6 ณ โรงแรมสีดา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก |
สัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่ 28 พ.ค. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 1) |
การปฏิรูปรัฐธรรมนูญไทย : รัฐธรรมนูญ 2559 โดย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
(หัวข้อที่ 2) |
บทบาท อำนาจ กับการปฏิรูปองค์กรอิสระ โดย ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) |
สัปดาห์ที่ 2 วันเสาร์ที่ 4 มิ.ย. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 3 ) |
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม โดย รศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ชี้แจงการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดย คณะกรรมการที่ปรึกษารายงานเฉพาะบุคคล |
|
การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล กรอบและแนวทางการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเบื้องต้น โดย รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ นักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
|
สัปดาห์ที่ 3 วันเสาร์ที่ 11 มิ.ย. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 4 ) |
ภัยคุกคามความมั่นคงในโลกยุคใหม่ โดย ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 1 หัวข้อ สื่อออนไลน์กับปัญหาความรุนแรง ลามสู่ปัญหาสังคม |
|
สัปดาห์ที่ 4 วันศุกร์ที่ 17 มิ.ย. 2559 |
|
ศึกษาดูงานส่วนกลาง ณ บริษัท มาร์ซัน จำกัด - หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ – ไทยรัฐทีวี
|
|
วันเสาร์ที่ 18 มิ.ย. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 5 ) |
ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจไทย โดย ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 2 หัวข้อ เว็บ "ข่าวปลอม" ปั่น สังคมป่วน ภัยร้ายในโลกไซเบอร์ |
|
สัปดาห์ที่ 5 วันเสาร์ที่ 25 มิ.ย. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 6 ) |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 5 หัวข้อ สื่อช่วยได้ไหม ? "ความปลอดภัยปากท้องผู้บริโภค" |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 3 หัวข้อ บทบาทของสื่อกับปัญหาขยะ "ขยะ" เริ่มที่คุณ .... จบที่ใคร??? |
|
สัปดาห์ที่ 6 วันเสาร์ที่ 2 ก.ค. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 7 ) |
ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 หัวข้อ UK ออกจาก EU บทเรียนประชาคมอาเซียน โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หน้าหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) |
การปฏิรูประบบรัฐวิสาหกิจไทย โดย ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) |
|
สัปดาห์ที่ 7 วันเสาร์ที่ 9 ก.ค. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 8 ) |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 4 หัวข้อ ยูโร 2016 : บทเรียนการสร้างสรรค์สื่อ และมูลค่าทางธุรกิจสื่อนอก และทิศทางการนำเสนอของสื่อไทย |
โครงสร้างการกระจายอำนาจกับการตรวจสอบ โดย รศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า |
|
วันเสาร์ที่ 16 ก.ค. 2559 |
|
งดบรรยาย |
|
สัปดาห์ที่ 8 วันศุกร์ที่ 22 - วันเสาร์ที่ 23 ก.ค. 2559 |
|
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาคครั้งที่ 1 ณ จังหวัดสมุทรสาคร – เพชรบุรี |
|
สัปดาห์ที่ 9 วันเสาร์ที่ 30 ก.ค. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 9 ) |
นโยบายประชารัฐ กับประชานิยม โดย ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
(หัวข้อที่ 10 ) |
นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดย ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) |
สัปดาห์ที่ 10 วันเสาร์ที่ 6 ส.ค. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 11) |
รู้เท่าทันการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย โดย รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
(หัวข้อที่ 12) |
วิกฤติการปฏิรูปการศึกษาไทย โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม ประธานมูลนิธิ สถาบันวิจัยระบบการศึกษา |
วันเสาร์ที่ 13 ส.ค. 2559 |
|
งดบรรยาย |
|
สัปดาห์ที่ 11 วันศุกร์ที่ 19 - อาทิตย์ที่ 21 ส.ค. 2559 |
|
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาคครั้งที่ 2 ณ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - จังหวัดอุบลราชธานี |
|
สัปดาห์ที่ 12 วันเสาร์ที่ 27 ส.ค. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 13) |
ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปัญหาและทางออก โดย พลโทนักรบ บุญบัวทอง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เลขานุการคณะพูดคุยสันติสุขของฝ่ายไทย |
(หัวข้อที่ 14) |
ปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย : การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว ฯลฯ โดย นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด |
สัปดาห์ที่ 13 วันเสาร์ที่ 3 ก.ย. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 15) |
การปฏิรูประบบสุขภาพ โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (1) |
สัปดาห์ที่ 14 วันเสาร์ที่ 10 ก.ย. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 16) |
การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของสื่อยุคดิจิตอล โดย นายไตรลุจน์ นวะมะรัตน์ นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) นายสมชาย รังษีธนานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไบรท์ ทีวี จำกัด |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (2) |
|
สัปดาห์ที่ 15 วันเสาร์ที่ 17 ก.ย. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 17) |
การปฏิรูปสื่อ ปฏิรูป กสทช. โดย นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (3) |
|
สัปดาห์ที่ 16 วันเสาร์ที่ 24 ก.ย. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 18) |
บริหารสื่ออย่างโดนใจและได้จริยธรรม โดย นางพจนารถ ซีบังเกิด (โค้ชจิมมี่) ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท จิมมี่ เดอะ โค้ช |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (4) |
|
สัปดาห์ที่ 17 วันเสาร์ที่ 1 ต.ค. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 19 ) |
ประชาคมอาเซียนหลังปี 2015 โดย นายกวี จงกิจถาวร สื่อมวลชนอิสระ |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (5) |
|
สัปดาห์ที่ 18 วันเสาร์ที่ 8 ต.ค. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 20) |
ปัญหาจริยธรรมนักวิชาชีพสื่อ โดย นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธ์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
(หัวข้อที่ 21) |
ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 หัวข้อ “การบริการจัดการน้ำ : จากภัยแล้งสู่น้ำท่วม” โดย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) และ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า เลขานุการคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ วสท. และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
|
สัปดาห์ที่ 19 วันเสาร์ที่ 15 ต.ค. 2559 |
|
(หัวข้อที่ 22) |
การจัดสัมมนาสาธารณะ หัวข้อ “อนาคตประเทศไทย หลังรัฐธรรมนูญใหม่” ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดย ผู้เข้าอบรมหลักสูตร บสก. รุ่นที่ 6 |