- Home
- หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)
- หลักการและเหตุผล
- หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5
หลักการและเหตุผล
ในสภาวการณ์ที่ประเทศชาติกำลังต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาและความเห็นที่แตกต่าง สื่อมวลชนจึงเป็นความหวังหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อช่วยบรรเทาและเยียวยาสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมได้ ในขณะเดียวกันสื่อมวลชนก็อาจถูกตั้งคำถามถึงบทบาทและการทำหน้าที่ได้เช่นกัน เพราะสื่อคือตัวกลางในการสร้างความรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน สื่อจึงต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างประชาชนกับฐานอำนาจของกลุ่มการเมือง
สถานการณ์คุกคามสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยเริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีทั้งรูปแบบและวิธีการใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยและแยบยลจนยากที่จะแยกได้ว่า นั่นก็คือ การแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อ ความพยายามของกลุ่มทุนที่แอบแฝงเข้ามาอยู่ในกลุ่มธุรกิจการเมือง การใช้กลยุทธ์และหลักการตลาดเข้ามาช่วยในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ชูนโยบายใหม่ๆ เพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นกับกลุ่มของตัวเอง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั้งสิ้น
นับเป็นโอกาสอันดี การที่องค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องการปฏิรูปสื่อ โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ถือว่าเป็นการช่วยสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นในการช่วยพัฒนาระบบการเข้าถึงและการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นและช่วยสร้างศักยภาพของสื่อในภาคประชาชน ตลอดจนช่วยในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมกับสื่อมวลชน
ดังนั้น สถาบันอิศรา จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมระยะยาวให้แก่ผู้บริหารระดับกลางของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระและองค์กร ด้านสุขภาวะ รวมทั้งภาคเอกชน ภายใต้หลักสูตรที่ชื่อว่า “หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)” รุ่นที่ 5 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารจากองค์กรด้านสื่อ นักวิชาการ และภาคเอกชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการคิดหาแนวทางร่วมกับนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อช่วยในการพัฒนาและเป็นการส่งเสริมให้เกิดแนวคิด สร้างทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาชีพของตนเองและประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5 บรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- เพื่อการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในการสร้างความเป็นผู้นำและการบริหารบุคลากรให้กับนักบริหารสื่อ และผู้เกี่ยวข้อง
- เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในด้านคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ
- เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้อง
- เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับนักวิชาการและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลางในโครงการนี้
แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
- ผู้บริหารระดับกลางจากสื่อมวลชน ตั้งแต่ระดับผู้สื่อข่าวอาวุโส หรือรีไรท์เตอร์ขึ้นไปถึงระดับหัวหน้าข่าวที่มีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ทางด้านหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์และสื่อใหม่ จากส่วนกลางและท้องถิ่น จำนวน 30 คน
- นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ที่มีอายุงานตั้งแต่ 7 ปี หรืออายุ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
- ผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน หรือองค์กรด้านสุขภาวะ ตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือหัวหน้าโครงการที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
- ผู้บริหารองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ หรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ระดับหัวหน้างานขึ้นไป และมีอายุไม่น้อยกว่า 35 ปี จำนวน 5 คน
- ผู้บริหารองค์กรเอกชน ตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกขึ้นไป และอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี จำนวน 5 คน
ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตร
จำนวนผู้เข้าอบรม
- รวมทั้งสิ้น 50 คน
วิธีดำเนินการอบรม
การอบรมหลักสูตรนี้ มีวิธีการศึกษาดังต่อไปนี้
1. การบรรยายและอภิปราย เพื่อช่วยในการสร้างองค์ความรู้ตลอดจนความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามเนื้อหาวิชาและหัวข้อที่กำหนด โดยได้เชิญวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ ตลอดจนการเชิญผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารงานจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นวิทยากรในการบรรยายและถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ตรง รวมทั้งเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมอบรมด้วย
2. การสัมมนา เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม ประกอบด้วย
2.1. เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนเสนอความเห็นต่อประเด็นปัญหาที่กำหนด และให้แสดงทัศนะของตนต่อปัญหาดังกล่าว ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดยกล่าวถึงสภาพปัญหา สาเหตุและแนวทางในการแก้ไข
2.2. แบ่งผู้เข้ารับการอบรม ออกเป็น 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการจัดสัมมนา เสวนาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (อาจจะเกี่ยวข้องกับงานด้านสื่อสารมวลชนหรือไม่ก็ได้) ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และนำเสนอผลงานในรูปแบบของรายงานกลุ่ม
2.3. ผู้เข้าอบรม บสก. รุ่นที่ 5 จะต้องรับผิดชอบในการจัดสัมมนาสาธารณะ 1 ครั้ง ภายในกรุงเทพและปริมณฑล หลังจากสิ้นสุดการอบรมและนำเสนอรายงานวิชาการส่วนบุคคล ภายในวันเสาร์ที่ 7 ก.พ. 2558 โดยให้ผู้เข้าอบรมร่วมกันกำหนดหัวข้อ การสัมมนา การเชิญวิทยากรและจัดเตรียมงานทั้งหมด (ยกเว้นการจัดหางบประมาณ)
3. การศึกษาดูงาน แบ่งเป็นการศึกษาดูงานองค์กรด้านสื่อ หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับสื่อ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน โดยแบ่งการศึกษาดูงานออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษา ดูงานในส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ และการศึกษาดูงานในส่วนภูมิภาค
ระยะเวลาและขอบเขตของการอบรม
การอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง ( บสก. ) รุ่นที่ 5 กำหนดระยะเวลาในการอบรมรวม 5 เดือน หรือประมาณ 20 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 6 ก.ย. 2557 – วันที่ 7 ก.พ. 2558 มีการอบรมทุกวันเสาร์ ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. สถานที่ที่ใช้ในการจัดอบรม ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน ระยะเวลาในการอบรมรวม 126 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ภาค ดังนี้
1. ภาควิชาการ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมในชั้นเรียนทุกวันเสาร์ ซึ่งการอบรมจะประกอบด้วยรูปแบบของการบรรยาย การอภิปราย โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการอบรมร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ตามหัวข้อที่กำหนด ประกอบด้วย
1.1. การบรรยายและอภิปราย 69 ชั่วโมง
1.2. การสัมมนา 15 ชั่วโมง
1.3. การจัดทำรายงานและนำเสนอผลงาน 18 ชั่วโมง
1.4. การศึกษาดูงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 24 ชั่วโมง
2. ภาคการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและคณะกรรมการหลักสูตร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
2.1. การนำเสนอหัวข้อและเค้าโครง
2.2. พบคณะกรรมการหลักสูตรเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำรายงานเฉพาะบุคคล
2.3. การนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการและผู้เข้าอบรม คนละ 10 นาที โดยมีคณะกรรมการหลักสูตรร่วมวิพากษ์และผู้เข้าอบรมร่วมเสนอแนะ ก่อนการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลฉบับสมบูรณ์ ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหลักสูตรและที่ปรึกษา
ภาพรวมการอบรมในหลักสูตรนี้ แบ่งสัดส่วนแต่ละกลุ่มของการอบรม ได้แก่การบรรยายและอภิปราย คิดเป็นร้อยละ 54.76 การสัมมนาและการจัดสัมมนาวิชาการสาธารณะ ร้อยละ 11.9 การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและการชี้แจงการทำรายงาน ร้อยละ 14.29 การศึกษาดูงาน ร้อยละ 19.05
เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม
การเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5 ได้กำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการอบรมไว้ดังต่อไปนี้
- ต้องมีเวลาเข้าฟังและเสนอความคิดเห็นในห้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด
- มีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดหลักสูตรทุกกิจกรรม และจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมในการศึกษาดูงาน การจัดสัมมนากลุ่มย่อยและการจัดสัมมนาสาธารณะ
- จัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลและส่งตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร
- จัดทำรายงานและนำเสนอผลงานหรืองานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลา และจะต้องส่งฉบับสมบูรณ์ก่อนวันปิดการอบรม 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรในการพิจารณาเพื่ออนุมัติการจบหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
การอบรมครั้งนี้ แบ่งออกได้เป็น 5 หมวดวิชา ดังนี้
1. การเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 ชั่วโมง
2. เศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 12 ชั่วโมง
3. สังคม การศึกษา สาธารณสุข พลังงานและสิทธิมนุษยชน จำนวน 18 ชั่วโมง
4. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพ จำนวน 15 ชั่วโมง
5. วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน จำนวน 6 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 1 ว่าด้วยการเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 ชั่วโมง ประกอบด้วย
1.1. ปัญหารัฐธรรมนูญไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
1.2. องค์กรอิสระกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จำนวน 3 ชั่วโมง
1.3. พัฒนาการทางการเมืองไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
1.4. ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม จำนวน 3 ชั่วโมง
1.5. ภัยคุกคามความมั่นคงในโลกยุคใหม่ จำนวน 3 ชั่วโมง
1.6. โครงสร้างการกระจายอำนาจกับการตรวจสอบ จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 2 ว่าด้วยเศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย
2.1. การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
2.2. นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จำนวน 3 ชั่วโมง
2.3. บทเรียนจากประชานิยม จำนวน 3 ชั่วโมง
2.4. ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 3 ว่าด้วยปัญหาสังคม การศึกษา สาธารณสุข พลังงานและสิทธิมนุษยชน จำนวน 18 ชั่วโมง
ประกอบด้วย
3.1. รู้เท่าทันการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
3.2. วิกฤติการปฏิรูปการศึกษาไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
3.3. ปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย : การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว ฯลฯ จำนวน 3 ชั่วโมง
3.4. ปฏิรูปพลังงานไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
3.5. สะท้อนปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3 ชั่วโมง
3.6. การปฏิรูประบบสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับการบริหารสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพ จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
4.1. จิตวิทยานักบริหารสื่อรุ่นใหม่ จำนวน 3 ชั่วโมง
4.2. การปฏิรูปสื่อ ปฏิรูป กสทช. จำนวน 3 ชั่วโมง
4.3. การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของสื่อยุคดิจิตอล จำนวน 3 ชั่วโมง
4.4. ความเข้าใจประชาคมอาเซียนในบริบทสื่อ จำนวน 3 ชั่วโมง
4.5. ปัญหาจริยธรรมนักวิชาชีพสื่อ จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 5 ว่าด้วยประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ จำนวน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย
5.1. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง
5.2. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 จำนวน 3 ชั่วโมง
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5
ระยะเวลาการอบรม 5 เดือน หรือ 20 สัปดาห์
ระหว่างวันที่ 6 กันยายน 2557 – วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558
วันเสาร์ที่ 6 ก.ย. 2557 |
|
|
การปฐมนิเทศผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5 |
สัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่ 13 – วันอาทิตย์ที่ 14 ก.ย. 2557 |
|
|
การสัมมนาเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5 ณ โรงแรมทวาราวดี รีสอร์ท จ.ปราจีนบุรี |
สัปดาห์ที่ 2 วันเสาร์ที่ 20 ก.ย. 2557 |
|
(หัวข้อที่ 1) |
องค์กรอิสระกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักกฎหมายมหาชน |
(หัวข้อที่ 2) |
ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจไทย โดย นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สครฺ.) |
สัปดาห์ที่ 3 วันเสาร์ที่ 27 ก.ย. 2557 |
|
|
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 1 |
(หัวข้อที่ 3) |
ภัยคุกคามความมั่นคงในโลกยุคใหม่ โดย ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
สัปดาห์ที่ 4 วันศุกร์ที่ 3 ต.ค. 2557 |
|
|
ศึกษาดูงานส่วนกลาง ณ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส |
วันเสาร์ที่ 4 ต.ค. 2557 |
|
08.00 – 09.00 น. |
ถกแถลงหาสาเหตุของปัญหาและข้อเสนอแนะตามหัวข้อที่กำหนด |
|
ชี้แจงการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดย คณะกรรมการที่ปรึกษารายงานเฉพาะบุคคล |
การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล กรอบและแนวทางการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเบื้องต้น โดย นายสมหมาย ปาริจฉัตต์รองประธานกรรมการ บมจ.มติชน จำกัด รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
|
(หัวข้อที่ 4) |
ปัญหารัฐธรรมนูญไทย โดย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|
สัปดาห์ที่ 5 วันเสาร์ที่ 11 ต.ค. 2557 |
|
(หัวข้อที่ 5) |
พัฒนาการทางการเมืองไทย โดย รศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ คณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|
|
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 2
|
สัปดาห์ที่ 6 วันเสาร์ที่ 18 ต.ค. 2557 |
|
(หัวข้อที่ 6) |
การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจไทย (ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจไทย) โดย ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและ การกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
|
|
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 3
|
สัปดาห์ที่ 7 วันเสาร์ที่ 25 ต.ค. 2557 |
|
(หัวข้อที่ 7) |
โครงสร้างการกระจายอำนาจกับการตรวจสอบ โดย ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ อดีตเลขานุการ คณะกรรมการปฏิรูป
|
|
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 4
|
สัปดาห์ที่ 8 วันศุกร์ที่ 31 ต.ค. – อาทิตย์ที่ 2 พ.ย. 2557 |
|
|
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ณ นครหลวงเวียงจันทน์ - วังเวียง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - จังหวัดอุดรธานี
|
สัปดาห์ที่ 9 วันเสาร์ที่ 8 พ.ย. 2557 |
|
08.00 – 09.00 น. |
ถกแถลงหาสาเหตุของปัญหาและข้อเสนอแนะตามหัวข้อที่กำหนด
|
(หัวข้อที่ 8 )
|
บทเรียนจากประชานิยม โดย ศ. ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|
|
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 5
|
สัปดาห์ที่ 10 วันเสาร์ที่ 15 พ.ย. 2557 |
|
(หัวข้อที่ 9) |
ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “ทิศทางรัฐธรรมนูญ 2558“ โดย นายประพันธ์ นัยโกวิท คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
|
(หัวข้อที่ 10) |
นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดย ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) |
สัปดาห์ที่ 11 วันเสาร์ที่ 22 พ.ย. 2557 |
|
(หัวข้อที่ 11) |
ปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย : การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว ฯลฯ โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
(หัวข้อที่ 12) |
รู้เท่าทันการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย โดย รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
สัปดาห์ที่ 12 วันเสาร์ที่ 29 พ.ย. 2557 |
|
(หัวข้อที่ 13) |
วิกฤติการปฏิรูปการศึกษาไทย โดย รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
(หัวข้อที่ 14)
|
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม โดย ผศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
วันเสาร์ที่ 6 ธ.ค. 2557
|
|
|
งดบรรยาย
|
สัปดาห์ที่ 13 วันเสาร์ที่ 13 ธ.ค. 2557 |
|
08.00 – 09.00 น. |
ถกแถลงหาสาเหตุของปัญหาและข้อเสนอแนะตามหัวข้อที่กำหนด
|
(หัวข้อที่ 15) |
ปฏิรูปพลังงานไทย โดย ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) |
|
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (1)
|
สัปดาห์ที่ 14 วันเสาร์ที่ 20 ธ.ค. 2557 |
|
(หัวข้อที่ 16) |
สะท้อนปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) |
|
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (2) |
สัปดาห์ที่ 15 วันเสาร์ที่ 27 ธ.ค. 2557 |
|
(หัวข้อที่ 17) |
การปฏิรูประบบสุขภาพ โดย นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) |
|
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (3) |
วันเสาร์ที่ 3 ม.ค. 2558
|
|
|
งดบรรยาย
|
สัปดาห์ที่ 16 วันเสาร์ที่ 10 ม.ค. 2558 |
|
08.00 – 09.00 น. |
ถกแถลงหาสาเหตุของปัญหาและข้อเสนอแนะตามหัวข้อที่กำหนด |
(หัวข้อที่ 18) |
จิตวิทยานักบริหารสื่อรุ่นใหม่ โดย ดร.ประพนธ์ สุริวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอสเพค ซีบู อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด |
|
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (4) |
สัปดาห์ที่ 17 วันเสาร์ที่ 17 ม.ค. 2558 |
|
(หัวข้อที่ 19 ) |
การปฏิรูปสื่อ ปฏิรูป กสทช. โดย นายประเสริฐ อภิปุญญา คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ใน กสทช. นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งรือง อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
|
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (5) |
สัปดาห์ที่ 18 วันเสาร์ที่ 24 ม.ค. 2558 |
|
(หัวข้อที่ 20) |
การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของสื่อยุคดิจิตอล โดย นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และกรรมการ บริษัท อสมท.จำกัด (มหาชน) |
(หัวข้อที่ 21) |
ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 |
สัปดาห์ที่ 19 วันเสาร์ที่ 31 ม.ค. 2558 |
|
(หัวข้อที่ 22) |
ความเข้าใจประชาคมอาเซียนในบริบทสื่อ โดย นายกวี จงกิจถาวร สื่อมวลชนอิสระ |
(หัวข้อที่ 23) |
ปัญหาจริยธรรมนักวิชาชีพสื่อ โดย รศ.ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ อดีตคณบดี นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา |
สัปดาห์ที่ 20 วันเสาร์ที่ 7 ก.พ. 2558 |
|
|
การจัดสัมมนาสาธารณะ โดย ผู้เข้าอบรมหลักสูตร บสก. รุ่นที่ 5 |