logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
    • ความเป็นมา
    • ผลงานที่ผ่านมา
    • โครงสร้างสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
    • กิจกรรมในยุคแรก
    • กิจกรรมปี 2549
    • กิจกรรมปี 2550
    • กิจกรรมปี 2551
    • กิจกรรมปี 2552
    • กิจกรรมปี 2553
    • กิจกรรมช่วง 2556 - 2560
    • กิจกรรมปี 2561
    • กิจกรรมปี 2562
    • กิจกรรมปี 2563
    • กิจกรรมปี 2564
    • กิจกรรมปี 2565
    • กิจกรรมปี 2566
    • กิจกรรมปี 2567
  • ข่าวสารและการอบรม
    • หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
    • หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.)
    • หลักสูตรพัฒนาผู้ผลิตรายการสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (The Producer)
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ
logo
  • Home
  • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)
  • หลักการและเหตุผล
  • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5

หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5

  • Share
  • Tweet
  • Share
  • Email
Created
Tuesday, 21 May 2013

หลักการและเหตุผล

ในสภาวการณ์ที่ประเทศชาติกำลังต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาและความเห็นที่แตกต่าง สื่อมวลชนจึงเป็นความหวังหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อช่วยบรรเทาและเยียวยาสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมได้ ในขณะเดียวกันสื่อมวลชนก็อาจถูกตั้งคำถามถึงบทบาทและการทำหน้าที่ได้เช่นกัน  เพราะสื่อคือตัวกลางในการสร้างความรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน สื่อจึงต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างประชาชนกับฐานอำนาจของกลุ่มการเมือง

สถานการณ์คุกคามสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยเริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีทั้งรูปแบบและวิธีการใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยและแยบยลจนยากที่จะแยกได้ว่า นั่นก็คือ การแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อ ความพยายามของกลุ่มทุนที่แอบแฝงเข้ามาอยู่ในกลุ่มธุรกิจการเมือง  การใช้กลยุทธ์และหลักการตลาดเข้ามาช่วยในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ชูนโยบายใหม่ๆ เพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นกับกลุ่มของตัวเอง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั้งสิ้น

นับเป็นโอกาสอันดี การที่องค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องการปฏิรูปสื่อ โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ถือว่าเป็นการช่วยสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นในการช่วยพัฒนาระบบการเข้าถึงและการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นและช่วยสร้างศักยภาพของสื่อในภาคประชาชน ตลอดจนช่วยในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมกับสื่อมวลชน

ดังนั้น สถาบันอิศรา จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมระยะยาวให้แก่ผู้บริหารระดับกลางของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน  องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระและองค์กร ด้านสุขภาวะ รวมทั้งภาคเอกชน ภายใต้หลักสูตรที่ชื่อว่า  “หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)” รุ่นที่ 5 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารจากองค์กรด้านสื่อ นักวิชาการ และภาคเอกชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการคิดหาแนวทางร่วมกับนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อช่วยในการพัฒนาและเป็นการส่งเสริมให้เกิดแนวคิด สร้างทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาชีพของตนเองและประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5  บรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

  1. เพื่อการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในการสร้างความเป็นผู้นำและการบริหารบุคลากรให้กับนักบริหารสื่อ และผู้เกี่ยวข้อง
  2. เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในด้านคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ
  3. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้อง
  4. เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับนักวิชาการและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม

สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลางในโครงการนี้

แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

  1. ผู้บริหารระดับกลางจากสื่อมวลชน ตั้งแต่ระดับผู้สื่อข่าวอาวุโส หรือรีไรท์เตอร์ขึ้นไปถึงระดับหัวหน้าข่าวที่มีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี  ทางด้านหนังสือพิมพ์  วิทยุกระจายเสียง  โทรทัศน์และสื่อใหม่ จากส่วนกลางและท้องถิ่น    จำนวน 30  คน
  2. นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ที่มีอายุงานตั้งแต่ 7 ปี หรืออายุ 30 ปีขึ้นไป จำนวน  5  คน
  3. ผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน หรือองค์กรด้านสุขภาวะ ตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือหัวหน้าโครงการที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จำนวน   5  คน
  4. ผู้บริหารองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ หรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ระดับหัวหน้างานขึ้นไป และมีอายุไม่น้อยกว่า 35 ปี จำนวน  5  คน
  5. ผู้บริหารองค์กรเอกชน ตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกขึ้นไป และอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี จำนวน  5  คน

ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตร

จำนวนผู้เข้าอบรม

  • รวมทั้งสิ้น  50 คน

วิธีดำเนินการอบรม

การอบรมหลักสูตรนี้ มีวิธีการศึกษาดังต่อไปนี้

1.  การบรรยายและอภิปราย เพื่อช่วยในการสร้างองค์ความรู้ตลอดจนความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามเนื้อหาวิชาและหัวข้อที่กำหนด โดยได้เชิญวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ ตลอดจนการเชิญผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารงานจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นวิทยากรในการบรรยายและถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ตรง รวมทั้งเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมอบรมด้วย

2.  การสัมมนา เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม ประกอบด้วย

2.1.  เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนเสนอความเห็นต่อประเด็นปัญหาที่กำหนด และให้แสดงทัศนะของตนต่อปัญหาดังกล่าว ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดยกล่าวถึงสภาพปัญหา สาเหตุและแนวทางในการแก้ไข

2.2.  แบ่งผู้เข้ารับการอบรม ออกเป็น 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการจัดสัมมนา เสวนาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (อาจจะเกี่ยวข้องกับงานด้านสื่อสารมวลชนหรือไม่ก็ได้) ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และนำเสนอผลงานในรูปแบบของรายงานกลุ่ม

2.3.  ผู้เข้าอบรม บสก. รุ่นที่ 5 จะต้องรับผิดชอบในการจัดสัมมนาสาธารณะ  1 ครั้ง ภายในกรุงเทพและปริมณฑล   หลังจากสิ้นสุดการอบรมและนำเสนอรายงานวิชาการส่วนบุคคล  ภายในวันเสาร์ที่ 7 ก.พ. 2558 โดยให้ผู้เข้าอบรมร่วมกันกำหนดหัวข้อ  การสัมมนา การเชิญวิทยากรและจัดเตรียมงานทั้งหมด (ยกเว้นการจัดหางบประมาณ)

3.  การศึกษาดูงาน แบ่งเป็นการศึกษาดูงานองค์กรด้านสื่อ หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับสื่อ  เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้  ความเข้าใจ และประสบการณ์  ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน โดยแบ่งการศึกษาดูงานออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษา ดูงานในส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ และการศึกษาดูงานในส่วนภูมิภาค

ระยะเวลาและขอบเขตของการอบรม

การอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง ( บสก. ) รุ่นที่  5  กำหนดระยะเวลาในการอบรมรวม 5 เดือน หรือประมาณ 20 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 6 ก.ย. 2557 – วันที่ 7 ก.พ. 2558 มีการอบรมทุกวันเสาร์  ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. สถานที่ที่ใช้ในการจัดอบรม ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน ระยะเวลาในการอบรมรวม 126 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ภาค ดังนี้

1. ภาควิชาการ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมในชั้นเรียนทุกวันเสาร์ ซึ่งการอบรมจะประกอบด้วยรูปแบบของการบรรยาย การอภิปราย โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการอบรมร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน  ตามหัวข้อที่กำหนด ประกอบด้วย

1.1.  การบรรยายและอภิปราย                            69                           ชั่วโมง

1.2.  การสัมมนา                                             15                           ชั่วโมง

1.3.  การจัดทำรายงานและนำเสนอผลงาน            18                           ชั่วโมง

1.4.  การศึกษาดูงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค       24                           ชั่วโมง

2.  ภาคการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและคณะกรรมการหลักสูตร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

2.1.  การนำเสนอหัวข้อและเค้าโครง

2.2.  พบคณะกรรมการหลักสูตรเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำรายงานเฉพาะบุคคล

2.3.  การนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการและผู้เข้าอบรม คนละ 10 นาที โดยมีคณะกรรมการหลักสูตรร่วมวิพากษ์และผู้เข้าอบรมร่วมเสนอแนะ ก่อนการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลฉบับสมบูรณ์ ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหลักสูตรและที่ปรึกษา

ภาพรวมการอบรมในหลักสูตรนี้  แบ่งสัดส่วนแต่ละกลุ่มของการอบรม ได้แก่การบรรยายและอภิปราย คิดเป็นร้อยละ 54.76   การสัมมนาและการจัดสัมมนาวิชาการสาธารณะ ร้อยละ 11.9   การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและการชี้แจงการทำรายงาน ร้อยละ 14.29  การศึกษาดูงาน ร้อยละ  19.05

เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม

การเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่  5 ได้กำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการอบรมไว้ดังต่อไปนี้

  1. ต้องมีเวลาเข้าฟังและเสนอความคิดเห็นในห้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด
  2. มีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดหลักสูตรทุกกิจกรรม  และจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมในการศึกษาดูงาน  การจัดสัมมนากลุ่มย่อยและการจัดสัมมนาสาธารณะ
  3. จัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลและส่งตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร
  4. จัดทำรายงานและนำเสนอผลงานหรืองานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลา และจะต้องส่งฉบับสมบูรณ์ก่อนวันปิดการอบรม 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรในการพิจารณาเพื่ออนุมัติการจบหลักสูตร

องค์ประกอบของหลักสูตร

การอบรมครั้งนี้ แบ่งออกได้เป็น 5 หมวดวิชา ดังนี้

1.  การเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง                                                                             จำนวน      18    ชั่วโมง

2.  เศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ                                                                           จำนวน      12    ชั่วโมง

3.  สังคม การศึกษา สาธารณสุข พลังงานและสิทธิมนุษยชน                                               จำนวน      18    ชั่วโมง

4.  ความรู้เกี่ยวกับการบริหารสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพ                                                จำนวน      15    ชั่วโมง

5.  วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน                                                                                    จำนวน        6    ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ 1 ว่าด้วยการเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18  ชั่วโมง ประกอบด้วย

1.1.    ปัญหารัฐธรรมนูญไทย                                                                                        จำนวน   3    ชั่วโมง

1.2.    องค์กรอิสระกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ                                                           จำนวน   3    ชั่วโมง

1.3.    พัฒนาการทางการเมืองไทย                                                                                จำนวน   3    ชั่วโมง

1.4.    ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม                                                    จำนวน   3    ชั่วโมง

1.5.    ภัยคุกคามความมั่นคงในโลกยุคใหม่                                                                       จำนวน   3    ชั่วโมง

1.6.    โครงสร้างการกระจายอำนาจกับการตรวจสอบ                                                           จำนวน   3    ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ 2 ว่าด้วยเศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน  12  ชั่วโมง ประกอบด้วย

2.1.    การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจไทย                                                จำนวน   3    ชั่วโมง

2.2.    นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ                                                                          จำนวน   3    ชั่วโมง

2.3.    บทเรียนจากประชานิยม                                                                                       จำนวน  3   ชั่วโมง

2.4.    ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจไทย                                                                                         จำนวน    3    ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ 3 ว่าด้วยปัญหาสังคม การศึกษา สาธารณสุข พลังงานและสิทธิมนุษยชน จำนวน 18 ชั่วโมง

ประกอบด้วย

3.1.    รู้เท่าทันการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย                                                                      จำนวน   3   ชั่วโมง

3.2.    วิกฤติการปฏิรูปการศึกษาไทย                                                                             จำนวน   3   ชั่วโมง

3.3.    ปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย :   การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว ฯลฯ                                 จำนวน    3   ชั่วโมง

3.4.    ปฏิรูปพลังงานไทย                                                                                          จำนวน    3   ชั่วโมง

3.5.    สะท้อนปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้                                             จำนวน    3   ชั่วโมง

3.6.    การปฏิรูประบบสุขภาพ                                                                                      จำนวน    3   ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับการบริหารสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพ จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย

4.1. จิตวิทยานักบริหารสื่อรุ่นใหม่                                                                                  จำนวน   3   ชั่วโมง

4.2. การปฏิรูปสื่อ ปฏิรูป กสทช.                                                                                    จำนวน   3   ชั่วโมง

4.3. การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของสื่อยุคดิจิตอล                                                             จำนวน   3   ชั่วโมง

4.4. ความเข้าใจประชาคมอาเซียนในบริบทสื่อ                                                                  จำนวน   3   ชั่วโมง

4.5. ปัญหาจริยธรรมนักวิชาชีพสื่อ                                                                                  จำนวน   3   ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ 5  ว่าด้วยประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ จำนวน   6   ชั่วโมง ประกอบด้วย

5.1. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์  ครั้งที่ 1                                                            จำนวน   3   ชั่วโมง

5.2. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์  ครั้งที่ 2                                                            จำนวน   3   ชั่วโมง

 

หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5

ระยะเวลาการอบรม 5 เดือน หรือ 20 สัปดาห์

ระหว่างวันที่ 6 กันยายน 2557 – วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558

วันเสาร์ที่  6  ก.ย. 2557

 

การปฐมนิเทศผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5

สัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่  13 – วันอาทิตย์ที่ 14  ก.ย. 2557

 

การสัมมนาเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 5 ณ โรงแรมทวาราวดี รีสอร์ท จ.ปราจีนบุรี

สัปดาห์ที่ 2 วันเสาร์ที่  20  ก.ย. 2557

(หัวข้อที่ 1)

องค์กรอิสระกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

โดย  ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักกฎหมายมหาชน

(หัวข้อที่ 2)

ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจไทย

โดย  นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สครฺ.)

สัปดาห์ที่ 3 วันเสาร์ที่  27  ก.ย. 2557

 

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 1

(หัวข้อที่ 3)

ภัยคุกคามความมั่นคงในโลกยุคใหม่

โดย  ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข  คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สัปดาห์ที่ 4 วันศุกร์ที่ 3  ต.ค. 2557

 

ศึกษาดูงานส่วนกลาง

ณ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

วันเสาร์ที่  4  ต.ค. 2557

08.00 – 09.00 น.

ถกแถลงหาสาเหตุของปัญหาและข้อเสนอแนะตามหัวข้อที่กำหนด

 

ชี้แจงการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดย คณะกรรมการที่ปรึกษารายงานเฉพาะบุคคล

การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล กรอบและแนวทางการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเบื้องต้น

โดย  นายสมหมาย ปาริจฉัตต์รองประธานกรรมการ บมจ.มติชน จำกัด

รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ

รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรมการจัดการ

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.

ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

(หัวข้อที่ 4)

ปัญหารัฐธรรมนูญไทย

โดย  ผศ.ดร.ปริญญา  เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

สัปดาห์ที่ 5 วันเสาร์ที่  11  ต.ค. 2557

(หัวข้อที่ 5)

พัฒนาการทางการเมืองไทย

โดย  รศ.ดร.ศุภสวัสดิ์  ชัชวาลย์  คณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 2

 

สัปดาห์ที่ 6 วันเสาร์ที่  18  ต.ค. 2557

(หัวข้อที่ 6)

การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจไทย (ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจไทย)

โดย  ดร.สมชัย  จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและ

การกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

 

 

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 3

 

สัปดาห์ที่ 7 วันเสาร์ที่  25  ต.ค.  2557          

(หัวข้อที่  7)

โครงสร้างการกระจายอำนาจกับการตรวจสอบ

โดย  ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด  อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ

อดีตเลขานุการ คณะกรรมการปฏิรูป

 

 

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 4

 

สัปดาห์ที่ 8 วันศุกร์ที่   31  ต.ค. –   อาทิตย์ที่  2  พ.ย. 2557        

 

ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค

ณ นครหลวงเวียงจันทน์ - วังเวียง

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว‎ - จังหวัดอุดรธานี

 

สัปดาห์ที่ 9 วันเสาร์ที่ 8 พ.ย. 2557

08.00 – 09.00 น.

ถกแถลงหาสาเหตุของปัญหาและข้อเสนอแนะตามหัวข้อที่กำหนด

 

(หัวข้อที่ 8 )

 

บทเรียนจากประชานิยม

โดย  ศ. ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 5

 

สัปดาห์ที่ 10 วันเสาร์ที่ 15 พ.ย. 2557

(หัวข้อที่ 9)

ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1

หัวข้อ “ทิศทางรัฐธรรมนูญ 2558“

โดย  นายประพันธ์ นัยโกวิท คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า

และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

 

(หัวข้อที่ 10)

นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

โดย  ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน)

สัปดาห์ที่ 11 วันเสาร์ที่ 22 พ.ย. 2557

(หัวข้อที่ 11)

ปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย :  การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว ฯลฯ

โดย  รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(หัวข้อที่ 12)

รู้เท่าทันการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย

โดย  รศ.ดร.นวลน้อย  ตรีรัตน์  อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สัปดาห์ที่ 12 วันเสาร์ที่ 29 พ.ย. 2557

(หัวข้อที่ 13)

วิกฤติการปฏิรูปการศึกษาไทย

โดย  รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ  อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

(หัวข้อที่ 14)

 

ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม

โดย  ผศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันเสาร์ที่ 6 ธ.ค. 2557 

 

 

งดบรรยาย

 

สัปดาห์ที่ 13 วันเสาร์ที่ 13 ธ.ค. 2557

08.00 – 09.00 น.

ถกแถลงหาสาเหตุของปัญหาและข้อเสนอแนะตามหัวข้อที่กำหนด

 

(หัวข้อที่ 15)

ปฏิรูปพลังงานไทย

โดย  ดร.อนุสรณ์  แสงนิ่มนวล อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่

บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

 

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (1)

 

สัปดาห์ที่ 14 วันเสาร์ที่  20  ธ.ค. 2557

(หัวข้อที่ 16)

สะท้อนปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

โดย  ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)

 

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (2)

สัปดาห์ที่ 15 วันเสาร์ที่ 27  ธ.ค. 2557

(หัวข้อที่ 17)

การปฏิรูประบบสุขภาพ

โดย  นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

 

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (3)

วันเสาร์ที่  3 ม.ค. 2558

 

 

งดบรรยาย

 

สัปดาห์ที่ 16 วันเสาร์ที่ 10 ม.ค. 2558

08.00 – 09.00 น.

ถกแถลงหาสาเหตุของปัญหาและข้อเสนอแนะตามหัวข้อที่กำหนด

(หัวข้อที่ 18)

จิตวิทยานักบริหารสื่อรุ่นใหม่

โดย  ดร.ประพนธ์  สุริวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอสเพค ซีบู อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

 

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (4)

สัปดาห์ที่ 17 วันเสาร์ที่ 17  ม.ค. 2558           

(หัวข้อที่ 19 )

การปฏิรูปสื่อ ปฏิรูป กสทช.

โดย   นายประเสริฐ อภิปุญญา คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.)

ใน กสทช.

นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งรือง อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (5)

สัปดาห์ที่ 18 วันเสาร์ที่ 24  ม.ค. 2558          

(หัวข้อที่ 20)

การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของสื่อยุคดิจิตอล

โดย  นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ  กรรมการผู้อำนวยการ

บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล คณบดี คณะนิเทศศาสตร์

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และกรรมการ บริษัท อสมท.จำกัด (มหาชน)

(หัวข้อที่ 21)

ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2

สัปดาห์ที่ 19 วันเสาร์ที่ 31 ม.ค. 2558

(หัวข้อที่ 22)

ความเข้าใจประชาคมอาเซียนในบริบทสื่อ

โดย  นายกวี  จงกิจถาวร  สื่อมวลชนอิสระ

(หัวข้อที่ 23)

ปัญหาจริยธรรมนักวิชาชีพสื่อ

โดย  รศ.ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ อดีตคณบดี นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

นายประสงค์  เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา

สัปดาห์ที่ 20 วันเสาร์ที่ 7 ก.พ. 2558                             

 

การจัดสัมมนาสาธารณะ โดย ผู้เข้าอบรมหลักสูตร บสก. รุ่นที่ 5

หลักสูตรสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)

  • หลักการและเหตุผล
  • คณะกรรมการหลักสูตร
  • รายชื่อผู้อบรม
  • ดาวน์โหลดเอกสาร บสก.
  • ภาพกิจกรรม
  • เอกสารวิชาการ/รายงานเฉพาะบุคคล
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
  • ข่าวสารและการอบรม
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ

ISRA Institute Thai Press Development Foundation
สำนักงาน : เลขที่ 538/1 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
Copyright (C) 2015  www.isra.or.th  All rights reserved.
telephone 0-2241-3905  fax  0-2241-3906

Implemented Website by ColorPack Creations Co., Ltd.
GO TO TOP
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
    • ความเป็นมา
    • ผลงานที่ผ่านมา
    • โครงสร้างสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
    • กิจกรรมในยุคแรก
    • กิจกรรมปี 2549
    • กิจกรรมปี 2550
    • กิจกรรมปี 2551
    • กิจกรรมปี 2552
    • กิจกรรมปี 2553
    • กิจกรรมช่วง 2556 - 2560
    • กิจกรรมปี 2561
    • กิจกรรมปี 2562
    • กิจกรรมปี 2563
    • กิจกรรมปี 2564
    • กิจกรรมปี 2565
    • กิจกรรมปี 2566
    • กิจกรรมปี 2567
  • ข่าวสารและการอบรม
    • หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
    • หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.)
    • หลักสูตรพัฒนาผู้ผลิตรายการสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (The Producer)
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ