- Home
- หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
- หลักการและเหตุผล
- หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชน ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 7
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชน ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 7
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชน
ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 7
หลักการและเหตุผล
ในสภาวการณ์ที่ประเทศชาติกำลังต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาและความเห็นที่แตกต่างและนำไปสู่ความแตกแยกของผู้คนในสังคมในช่วงเวลาที่ผ่านมา สื่อมวลชนจึงเป็นความหวังหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมไปถึงการช่วยบรรเทาเยียวยาเพื่อสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้น ในสังคมได้ แม้ว่าหลายครั้งที่ผ่านมาสื่อมวลชนก็อาจถูกตั้งคำถามถึงบทบาทและการทำหน้าที่ได้เช่นกัน แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ สื่อยังคงเป็นตัวกลางในการสร้างความรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชนและผู้คนในสังคม สื่อจึงต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างประชาชนกับฐานอำนาจของกลุ่มต่างๆ ในสังคม บทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงถือว่ามีความสำคัญยิ่ง
ที่ผ่านมา สื่อมวลชนไทยถูกมองว่ามีสิทธิและเสรีภาพในการทำหน้าที่ค่อนข้างมาก แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมา จะมีหลายช่วงเวลาที่มีความพยายามของบรรดากลุ่มทุน กลุ่มการเมืองที่อาจอาจแอบแฝงเข้ามาผ่านเครือข่ายนายทุนนักธุรกิจที่เข้ามาแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อในรูปแบบและวิธีการต่างๆ รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์และหลักการตลาดเข้าช่วยในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ชูนโยบายใหม่ๆ เพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นกับกลุ่มและเครือข่ายของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั้งสิ้น ดังนั้นการเพิ่มพูนทักษะความรู้และหลักวิชาการในสมัยใหม่ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสื่อมวลชนในยุคปัจจุบัน
ในยุคของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ทำให้ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมีจำนวนมาก ทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือกต่างๆ แม้แต่สื่อหลักอย่างสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ก็มีหลากหลายทางเลือกให้กับผู้บริโภค ยังไม่รวมสื่อสังคมออนไลน์ สื่อภาคประชาชน เรียกได้ว่าทุกคนสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อได้ทั้งสิ้น แต่ถึงที่สุดแล้ว สื่อมวลชนก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนในสังคมให้การยอมรับและเชื่อถือมากกว่า การทำหน้าที่ของสื่อจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าสื่อมวลชนจะมีสิทธิและเสรีภาพในการทำหน้าที่ แต่จะต้องมีความรับผิดชอบควบคู่ไปด้วย นี่จึงเป็นสิ่งที่ทำให้สื่อมวลชนแตกต่างจากสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ
นับเป็นโอกาสอันดี การที่องค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนของไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการเสริมสร้างเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ให้เกิดขึ้น และนำไปสู่การการเพิ่มพูนทักษะความสามารถให้กับบุคลากร ในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบการเข้าถึงและการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นการช่วยสร้างธรรมาภิบาล ให้เกิดขึ้นและพัฒนาศักยภาพของสื่อในภาคประชาชน ตลอดจนการขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคมกับสื่อมวลชน
ดังนั้น ทางสถาบันอิศรา จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมระยะยาวสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อ โดยเฉพาะสื่อทางด้านโทรทัศน์ดิจิตอล จะเห็นว่า ในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา มีการขยายตัวของสื่อโทรทัศน์ที่มีจำนวนช่องที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การผลิตหรือการสร้างบุคลากรเพื่อรองรับธุรกิจสื่อที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ทำให้แต่เกิดการไหลเวียนของบุคลากรในวิชาชีพสื่อทางด้านสิ่งพิมพ์และวิทยุหมุนเวียนเข้ามาทำงานด้านโทรทัศน์แทน ในขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้สื่อข่าวภาคสนามกลายเป็นเด็กรุ่นใหม่ ที่เพิ่งจบการศึกษาและยังขาดประสบการณ์ แต่ต้องตกอยู่ท่ามกลางสภาวการณ์แข่งขันที่ทวีความรุนแรงของของสื่อโทรทัศน์ ทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในยุคนี้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของสถาบันอิศรา ที่ได้ตระหนักถึงบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยซึ่งเป็นกระจกเงาเพื่อสะท้อนความเป็นไปของสังคม และคอยชี้นำแนะแนวทางที่ถูกต้อง จึงเห็นถึงความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบุคลากรในวิชาชีพสื่อเป็นอย่างยิ่ง
การจัดโครงการอบรมหลักสูตระยะยาว เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้บริหารระดับสูง ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระและส่วนราชการ รวมทั้งภาคเอกชน ภายใต้หลักสูตรที่ชื่อว่า หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 7 เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารจากองค์กรด้านสื่อสารมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นระหว่างกันร่วมกับนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดแนวคิด สร้างทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาชีพของตนเองและประเทศชาติต่อไปได้
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 7 สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อเปิดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม ในหัวข้อทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน
3. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการบริหารสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสื่อและผู้เกี่ยวข้อง
4. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ
5. เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับนักวิชาการและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 7 ในโครงการนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้บริหารระดับสูงจากสื่อมวลชน วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่เป็นผู้บริหารองค์กร ตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกข่าวขึ้นไป และที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน
2. นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชาหรือเทียบเท่าขึ้นไป และมีอายุการทำงานทางวิชาการ ไม่น้อยกว่า 15 ปี จำนวน 6 คน
3. ผู้บริหารองค์กรระดับสูงองค์กรพัฒนาเอกชน ตั้งแต่ระดับผู้จัดการ และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
4. ผู้บริหารระดับสูงองค์กรของรัฐ ส่วนราชการ ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่าย และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
5. ผู้บริหารองค์กรเอกชน ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการ หรือ ผู้จัดการ ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 8 คน
6. ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตร
จำนวนผู้เข้าอบรม
รวมทั้งสิ้น 54 คน ซึ่งเป็นจำนวนผู้เข้าอบรมที่มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับการกำหนดสัดส่วนจำนวนผู้เข้าอบรมที่มาจากแต่ละกลุ่มวิชาชีพ สิ่งสำคัญทำให้ผู้เข้าอบรมทั้งหมดสามารถจดจำกันได้อย่างทั่วถึง และสอดคล้องกับการจัดทำกิจกรรมกลุ่มในระหว่างการอบรมด้วย
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
วิธีดำเนินการอบรม
การอบรมหลักสูตรนี้มีวิธีการศึกษาดังนี้
1. การบรรยายและอภิปราย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามเนื้อหาวิชาและหัวข้อที่กำหนด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจากหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรการอบรมยังได้กำหนดให้มีการเปิดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นระหว่างกัน
2. การสัมมนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้กำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจหรือเป็นข้อถกเถียงของสังคม เป็นการจัดเวทีเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน และนำเสนอความคิดเห็นสู่สาธารณะ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน และการจัดสัมมนาสาธารณะซึ่งเป็นผลงานของผู้เข้าอบรม โดยเปิดโอกาสให้เชิญบุคคลภายนอก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดเห็น ข้อเท็จจริง เพื่อนำไปสู่การเสนอทางออก แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป
2.1. ผู้เข้าอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำสัมมนาทั้ง 2 ส่วน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมในหลักสูตรนี้
2.2. มีการแบ่งผู้เข้าอบรม ออกเป็น 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการจัดสัมมนาหรือเสวนา เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
2.3. ผู้เข้าอบรมหลักสูตร ในหลักสูตรนี้ จะต้องร่วมกันรับผิดชอบในการจัดสัมมนาสาธารณะ 1 หัวข้อ โดยกำหนดหัวข้อสัมมนา การเชิญวิทยากรและการจัดเตรียมงานทั้งหมด
3. การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลของการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรนี้ ดังนั้น ผู้เข้าอบรมทุกคนจะต้องจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดยมีหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และจะต้องนำเสนอและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักสูตร ก่อนสิ้นสุดการอบรม
4. การศึกษาดูงาน แบ่งเป็นการศึกษาดูงานในองค์กรด้านสื่อ ภารกิจของ กสทช. หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับสื่อ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาดูงานในส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ และการศึกษาดูงานในส่วนภูมิภาคจำนวน 2 ครั้ง
ระยะเวลาและขอบเขตของการอบรม
การอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 7 ในครั้งนี้ กำหนดระยะเวลาในการอบรม 6 เดือน หรือประมาณ 24 สัปดาห์ การอบรมจัดขึ้นทุกวันเสาร์ ระหว่างเวลา วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม – วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2560 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน ระยะเวลาอบรมรวม 159 ชั่วโมง แบ่งการอบรมเป็น 2 ภาค ดังนี้
1. ภาควิชาการ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมในชั้นเรียนทุกวันเสาร์ ซึ่งการอบรมจะเป็นรูปแบบของการบรรยาย การอภิปรายและการสัมมนา โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการอบรมสามารถร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ตามหัวข้อที่กำหนด ประกอบด้วย
1.1. การบรรยายและอภิปราย 87 ชั่วโมง
1.2. การสัมมนา 18 ชั่วโมง
การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน 15 ชั่วโมง
การสัมมนาสาธารณะ 3 ชั่วโมง
1.3. การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและชี้แจงการทำรายงาน 18 ชั่วโมง
1.4. การศึกษาดูงาน 36 ชั่วโมง
ส่วนกลาง 6 ชั่วโมง
ส่วนภูมิภาค 30 ชั่วโมง
ภาพรวมการแบ่งสัดส่วนแต่ละกลุ่มของการอบรมในหลักสูตรนี้ ประกอบด้วย การบรรยายและอภิปราย คิดเป็น ร้อยละ 54.71 การสัมมนาและการจัดสัมมนาสาธารณะ ร้อยละ 11.32 การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและการชี้แจงการทำรายงาน ร้อยละ 11.32 การศึกษาดูงาน ร้อยละ 22.65
2. ภาคการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและคณะกรรมการหลักสูตร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
1. การนำเสนอหัวข้อและเค้าโครง
2. การปรึกษาคณะกรรมการหลักสูตร
3. การนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมอบรม คนละ 10 นาที โดยมีคณะกรรมการหลักสูตรร่วมวิพากษ์และผู้เข้าอบรมร่วมเสนอแนะ ก่อนการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลฉบับสมบูรณ์
เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม
ในการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 7 ได้กำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการอบรมไว้ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีเวลาเข้าฟังและเสนอความคิดเห็นในห้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด
2. มีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดหลักสูตร และต้องเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาดูงาน การจัดสัมมนากลุ่มย่อยและการจัดสัมมนาสาธารณะ
3. จัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลและส่งตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร
4. จัดทำรายงานและนำเสนอผลงานหรืองานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลา และจะต้องส่งฉบับสมบูรณ์เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรในการพิจารณาจบหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร แบ่งออกได้เป็น 6 หมวดวิชา จำนวน 87 ชั่วโมง ประกอบด้วย
1. การเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 ชั่วโมง
2. เศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 15 ชั่วโมง
3. สังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน จำนวน 15 ชั่วโมง
4. หลักการบริหารและเทคโนโลยีการสื่อสาร จำนวน 15 ชั่วโมง
5. กฎหมายเกี่ยวกับสื่อมวลชน เสรีภาพและจริยธรรมวิชาชีพ จำนวน 15 ชั่วโมง
6. วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน จำนวน 9 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 1 ว่าด้วยการเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 ชั่วโมง ประกอบด้วย
- ภูมิศาสตร์การเมืองโลก จำนวน 3 ชั่วโมง
1.2. ปัญหาความมั่นคงในโลกยุคใหม่ จำนวน 3 ชั่วโมง
1.3. การเมืองไทยยุคเปลี่ยนผ่าน จำนวน 3 ชั่วโมง
1.4. ปรับบทบาทภาครัฐ ยกเครื่องรัฐไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
1.5. หลักการกระจายอำนาจ จำนวน 3 ชั่วโมง
1.6. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 2 ว่าด้วยหลักเศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
2.1. ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
2.2. ความเหลื่อมล้ำ : ผลกระทบระบบเศรษฐกิจ จำนวน 3 ชั่วโมง
2.3. ปัญหาเศรษฐกิจไทยร่วมสมัยและทางออก จำนวน 3 ชั่วโมง
2.4. ทุจริตคอรัปชั่น กับผลกระทบระบบเศรษฐกิจ จำนวน 3 ชั่วโมง
2.5. ธุรกิจใหม่ในโลกที่เปลี่ยนแปลง จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 3 ว่าด้วยปัญหาสังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
3.1. การค้ามนุษย์ ปัญหาร่วมสมัย จำนวน 3 ชั่วโมง
3.2. การละเมิดสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว จำนวน 3 ชั่วโมง
3.3. ผ่าทางตันระบบการศึกษาไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
3.4. การปฏิรูประบบประกันสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมง
3.5. การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 4 ว่าด้วย หลักการบริหารและเทคโนโลยีการสื่อสาร จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
4.1. หลักธรรมาภิบาลการบริหารองค์กรเอกชน จำนวน 3 ชั่วโมง
4.2. การบริหารเชิงกลยุทธ์ : ภาวะผู้นำ จำนวน 3 ชั่วโมง
4.3. ความท้าทายการบริหารสื่อยุคใหม่ จำนวน 3 ชั่วโมง
4.4. อนาคตธุรกิจโทรคมนาคมไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
4.5. นวัตกรรมเทคโนโลยี จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 5 ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับสื่อมวลชน เสรีภาพและจริยธรรมวิชาชีพจำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
5.1. กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 3 ชั่วโมง
5.2. อนาคตสื่อใหม่ : กรณีศึกษา The Momentum The 101 จำนวน 3 ชั่วโมง
และ Thai Publica
5.3. ความสำคัญของเนื้อหาต่ออนาคตสื่อมวลชน (Content is King) จำนวน 3 ชั่วโมง
5.4. การปฏิรูปสื่อในกรอบรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 ชั่วโมง
5.5. เสรีภาพสื่อไทยในบริบทอาเซียน จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 6 ว่าด้วยประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ จำนวน 9 ชั่วโมง ประกอบด้วย
6.1. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง
6.2. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 จำนวน 3 ชั่วโมง
6.3. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 3 จำนวน 3 ชั่วโมงฃ
กำหนดการหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชน
ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 7
ระยะเวลาการอบรม 6 เดือน หรือ 24 สัปดาห์ (159 ชั่วโมง)
ระหว่างวันเสาร์ที่ 11 มีนาคม – วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2560
เตรียมตัวสัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2560 |
|
การปฐมนิเทศ ผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 7 ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน |
|
เตรียมตัวสัปดาห์ที่ 2 วันเสาร์ที่ 18 – วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม 2560 |
|
การสัมมนาเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการอบรม ณ โรงแรมเดอะไทด์ รีสอร์ท บางแสน จังหวัดชลบุรี |
|
สัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 1) |
หลักการกระจายอำนาจ โดย รศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า |
(หัวข้อที่ 2) |
ปัญหาความมั่นคงในโลกยุคใหม่ โดย ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
สัปดาห์ที่ 2 วันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2560 |
|
(หัวข้อที่ 3) |
ปัญหาเศรษฐกิจไทยร่วมสมัยและทางออก โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี |
(หัวข้อที่ 4) |
ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย โดย ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) |
สัปดาห์ที่ 3 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน 2560 |
|
(หัวข้อที่ 5) |
ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 หัวข้อ โรงไฟฟ้าถ่านหิน – ทางออกพลังงานของประเทศไทยจริงหรือ ? โดย ว่าที่พันตรี ดร.อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ชี้แจงการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดย คณะกรรมการหลักสูตร |
|
การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล เข้าใจหลักการวิจัยเบื้องต้น โดย รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ นักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
|
วันเสาร์ที่ 15 เมษายน 2560 |
|
งดบรรยาย หยุดวันสงกรานต์
|
|
สัปดาห์ที่ 4 วันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2560 |
|
(หัวข้อที่ 6) |
การเมืองไทยยุคเปลี่ยนผ่าน โดย ศ.กิตติคุณ ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ |
(หัวข้อที่ 7) |
ปรับบทบาทภาครัฐ ยกเครื่องรัฐไทย โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) |
สัปดาห์ที่ 5 วันเสาร์ที่ 29 เมษายน 2560 |
|
(หัวข้อที่ 8) |
ความเหลื่อมล้ำ : ผลกระทบระบบเศรษฐกิจ โดย ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 1 หัวข้อ “สื่อยุค High-Speed...ความรวดเร็วคือดาบสองคม” |
|
วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2560 |
|
งดบรรยาย |
|
สัปดาห์ที่ 6 วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2560 |
|
ศึกษาดูงานส่วนกลาง ณ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) และ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
|
|
สัปดาห์ที่ 7 วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 9) |
ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย โดย ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 2 หัวข้อ "สื่อกระแสหลัก ทางรอดยุค 4.0” |
|
สัปดาห์ที่ 8 วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 10) |
ทุจริตคอรัปชั่น กับผลกระทบระบบเศรษฐกิจ โดย นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน |
(หัวข้อที่ 11) |
ภูมิศาสตร์การเมืองโลก โดย ผศ.จิตติภัทร พูนขำ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
สัปดาห์ที่ 9 วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 12) |
ธุรกิจใหม่ในโลกที่เปลี่ยนแปลง โดย นายธีรนันท์ ศรีหงส์ นักลงทุนและที่ปรึกษาอิสระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซล่าร์ คอนซัลติ้ง จำกัด อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 3 หัวข้อ “อิทธิพลของสื่อออนไลน์ต่อการเผยแพร่ข่าวสารและความเชื่อในสังคม” |
|
สัปดาห์ที่ 10 วันศุกร์ที่ 2 – วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2560 |
|
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดระยอง – ชลบุรี |
|
สัปดาห์ที่ 11 วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2560 |
|
(หัวข้อที่ 13) |
การค้ามนุษย์ ปัญหาร่วมสมัย โดย นายวันชัย รุจนวงศ์ อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงราชบุรี นายสมพงษ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริม คุณภาพชีวิตแรงงาน (แอลพีเอ็น) |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 4 หัวข้อ “ความอยู่รอดของสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิตอล” |
|
สัปดาห์ที่ 12 วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2560 |
|
(หัวข้อที่ 14) |
การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดย ดร.เดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
(หัวข้อที่ 15) |
การละเมิดสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก |
สัปดาห์ที่ 13 วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2560 |
|
(หัวข้อที่ 16) |
ผ่าทางตันระบบการศึกษาไทย โดย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 5 หัวข้อ “Rating is the king : เรตติ้ง น้ำผึ้ง หรือ ยาพิษ” |
|
สัปดาห์ที่ 14 วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 17) |
การปฏิรูประบบประกันสุขภาพ โดย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) |
(หัวข้อที่ 18) |
ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 หัวข้อ “จุดเปลี่ยนสื่อ ในยุคเทคโนโลยีก้าวกระโดด” โดย พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) นางสาวรฐิยา อิสระชัยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล |
วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560 |
|
งดบรรยาย หยุดวันอาสาฬหบูชา |
|
สัปดาห์ที่ 15 วันศุกร์ที่ 14 – วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2560 |
|
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดอุบลราชธานี – แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
|
สัปดาห์ที่ 16 วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 19) |
หลักธรรมาภิบาลการบริหารองค์กรเอกชน โดย นางวีนัส อัศวสิทธิถาวร Director Enterprise Brand Management Office บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) |
(หัวข้อที่ 20) |
การบริหารเชิงกลยุทธ์ : ภาวะผู้นำ โดย นางสาวภฑิล สุทธิเชื้อชาติ Senior Consultant และผู้อำนวยการแผนก Leadership & Innovation บริษัท South East Asia Center (SEAC หรือ เอสอีเอซี) |
สัปดาห์ที่ 17 วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 21) |
ความท้าทายการบริหารสื่อยุคใหม่ โดย นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) |
(หัวข้อที่ 22) |
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดย นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ |
สัปดาห์ที่ 18 วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 23) |
นวัตกรรมเทคโนโลยี โดย ดร.ภูริพันธุ์ รุจิขจร ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ ผู้ร่วมก่อตั้ง บุญมีแล็บ |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (1) |
|
วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2560 |
|
งดบรรยาย หยุดวันแม่แห่งชาติ |
|
สัปดาห์ที่ 19 วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 24) |
ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 3 หัวข้อ “ทิศทางการปฏิรูปตำรวจ” โดย พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกรรมการฝ่ายผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (2) |
|
สัปดาห์ที่ 20 วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2560 |
|
(หัวข้อที่ 25) |
อนาคตสื่อใหม่ : กรณีศึกษา The Standard The 101 และ Thai Publica โดย นายปกป้อง จันวิทย์ ประธานกรรมการบริษัทดิ วันโอวัน เปอร์เซ็นต์ จำกัด นายนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร The Standard นางสาวบุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (3) |
|
สัปดาห์ที่ 21 วันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2560 |
|
(หัวข้อที่ 26) |
อนาคตธุรกิจโทรคมนาคมไทย โดย นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (4) |
|
สัปดาห์ที่ 22 วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2560 |
|
(หัวข้อที่ 27) |
ความสำคัญของเนื้อหาต่ออนาคตสื่อมวลชน (Content is King) โดย นายสุรชา บุญเปี่ยม บรรณาธิการอาวุโส สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ นายคธาทร อัศวจิรัฐติกรณ์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (5) |
|
สัปดาห์ที่ 23 วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2560 |
|
(หัวข้อที่ 28) |
การปฏิรูปสื่อในกรอบรัฐธรรมนูญ โดย รศ.จุมพล รอดคำดี อดีตประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และประธานกรรมการนโยบาย (ส.ส.ท.) นายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและประธานคณะกรรมการสื่อเพื่อการปฏิรูป |
(หัวข้อที่ 29) |
เสรีภาพสื่อไทยในบริบทอาเซียน โดย นายกวี จงกิจถาวร สื่อมวลชนอิสระ |
สัปดาห์ที่ 24 วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2560 |
|
การจัดสัมมนาสาธารณะ หัวข้อ “โรดแมปไทยไทย ไกลแค่ไหน หรือใกล้เลือกตั้ง?” ณ ห้องประชุม อิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน โดย ผู้เข้าอบรมหลักสูตร (บสส.) รุ่นที่ 7 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในองค์กรสื่อมวลชน ทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น ประกอบด้วยสื่อด้านวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ รวมทั้งภาคเครือข่ายอื่นๆ จากภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้รับการพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและกฎหมายรวมทั้งกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศ ในขณะที่เครือข่ายอื่นๆ ได้เข้าใจและดำเนินการร่วมมือกับสื่อมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
2. เกิดการประสานงานเป็นเครือข่ายร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการอบรมเพื่อมีส่วนร่วมในการผลักดันสังคมไปสู่การสื่อสารที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะบางประเด็นที่มีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น องค์กร ที่ไม่แสวงหากำไร (เอ็นจีโอ) กับหน่วยงานหรือรัฐวิสาหกิจ มีจุดในบางเรื่องที่แตกต่างกัน แต่ประโยชน์ของการสร้างเป็นเครือข่ายกัน ทำให้แต่ละฝ่ายพร้อมจะเปิดใจรับฟังความเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง ในขณะที่อีกฝ่ายก็พร้อมรับฟังข้อท้วงติงของอีกฝ่ายเช่นกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าอบรมด้วยกัน ทำให้เกิดมุมมองแนวคิดใหม่ ๆ ร่วมกันด้วย
3. กลุ่มประชาชนผู้รับสาร ได้ข้อมูลข่าวสารจากผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพด้านองค์ความรู้และทักษะทางด้านวิชาชีพต่างๆ เนื่องจากสื่อมวลชนถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อผู้คนและสามารถชี้นำทิศทางของสังคมได้ ดังนั้นสื่อที่ดี มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีจริยธรรมแห่งวิชาชีพที่ดีจะผลิตเนื้อหาข่าวสารและสาระความรู้ต่างๆที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและส่วนรวมในทิศทางที่ดีตามไปด้วย โดยเฉพาะแนวคิด ทฤษฎีและองค์ความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นแทบตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนในวิชาชีพสื่อมวลชนจะต้องได้รับการพัฒนาเรียนรู้เพิ่มเติมทักษะเหล่านี้