logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
    • ความเป็นมา
    • ผลงานที่ผ่านมา
    • โครงสร้างสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
    • กิจกรรมในยุคแรก
    • กิจกรรมปี 2549
    • กิจกรรมปี 2550
    • กิจกรรมปี 2551
    • กิจกรรมปี 2552
    • กิจกรรมปี 2553
    • กิจกรรมปี 2564
    • กิจกรรมปี 2565
    • กิจกรรมปี 2566
  • ข่าวสารและการอบรม
    • หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
    • หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.)
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ
logo
  • Home
  • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
  • หลักการและเหตุผล
  • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 6

หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 6

Tags
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 6
Created
Saturday, 13 July 2019

 

หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 6

จัดโดย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

 

isralogo 01032017

 

หลักการและเหตุผล           

ในสภาวการณ์ที่ประเทศชาติกำลังต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาและความเห็นที่แตกต่าง สื่อมวลชนจึงเป็นความหวังหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อช่วยบรรเทาและเยียวยาสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมได้ ในขณะเดียวกันสื่อมวลชนก็อาจถูกตั้งคำถามถึงบทบาทและการทำหน้าที่ได้เช่นกัน เพราะสื่อคือตัวกลางในการสร้างความรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน สื่อจึงต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างประชาชนกับฐานอำนาจของกลุ่มการเมือง

สถานการณ์ด้านการคุกคามสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย เริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีทั้งรูปแบบและวิธีการใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยและแยบยลจนยากที่จะแยกได้ว่า นั่นก็คือ การแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อ ความพยายามของกลุ่มทุนที่แอบแฝงเข้ามาอยู่ในกลุ่มธุรกิจการเมือง การใช้กลยุทธ์และหลักการตลาดเข้ามาช่วยในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ชูนโยบายใหม่ๆ เพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นกับกลุ่มของตัวเอง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั้งสิ้น

            นับเป็นโอกาสอันดี การที่องค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนของไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการปฏิรูปสื่อ โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นในการพัฒนาระบบการเข้าถึงและการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นการช่วยสร้างธรรมาภิบาล ให้เกิดขึ้นและพัฒนาศักยภาพของสื่อในภาคประชาชน ตลอดจนการขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคมกับสื่อมวลชน

            ดังนั้น ทางสถาบันอิศราจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมระยะยาวขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้บริหารระดับสูงที่ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระและส่วนราชการ รวมทั้งภาคเอกชน ภายใต้หลักสูตรที่ชื่อว่า “หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)” รุ่นที่ 6  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารจากองค์กรด้านสื่อสารมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นระหว่างกันร่วมกับนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดแนวคิด สร้างทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาชีพของตนเองและประเทศชาติต่อไปได้

 

วัตถุประสงค์

            เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม “หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)” รุ่นที่ 6 สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

           1. เพื่อเปิดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม ในหัวข้อทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

           2. เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน

           3. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการบริหารสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสื่อและผู้เกี่ยวข้อง

           4. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ

           5. เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับนักวิชาการและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม

            สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงในโครงการนี้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

           1. ผู้บริหารระดับสูงจากสื่อมวลชน ด้านหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เป็นผู้บริหารองค์กร ตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกข่าวขึ้นไป และที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน

          2. นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชาหรือเทียบเท่าขึ้นไป และมีอายุการทำงานทางวิชาการ ไม่น้อยกว่า 15 ปี จำนวน 6 คน

          3. ผู้บริหารองค์กรระดับสูงองค์กรพัฒนาเอกชน ตั้งแต่ระดับผู้จัดการ และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน

          4. ผู้บริหารระดับสูงองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ส่วนราชการ ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่าย และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน

          5. ผู้บริหารองค์กรเอกชน ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการ หรือ ผู้จัดการ ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 8 คน

จำนวนผู้เข้าอบรม

            รวมทั้งสิ้น 54 คน

ค่าใช้จ่ายในการอบรม

            ผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

วิธีดำเนินการอบรม

            การอบรมหลักสูตรนี้มีวิธีการศึกษาดังนี้

 

            1. การบรรยายและอภิปราย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามเนื้อหาวิชาและหัวข้อที่กำหนด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจากหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรการอบรมยังได้กำหนดให้มีการเปิดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นระหว่างกัน

 

            2. การสัมมนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้กำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจหรือเป็นข้อถกเถียงของสังคม เป็นการจัดเวทีเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน และนำเสนอความคิดเห็นสู่สาธารณะ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ  การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน   และการจัดสัมมนาสาธารณะซึ่งเป็นผลงานของผู้เข้าอบรมหลักสูตร  บสส. รุ่นที่ 6 และเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดเห็น ข้อเท็จจริง เพื่อนำไปสู่การเสนอทางออก แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

                        2.1. ผู้เข้าอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำสัมมนาทั้ง 2 ส่วน เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมในหลักสูตรนี้

                        2.2. มีการแบ่งผู้เข้าอบรม ออกเป็น 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการจัดสัมมนาหรือเสวนา เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง

                        2.3. ผู้เข้าอบรมหลักสูตร บสส. รุ่นที่ 6  จะต้องร่วมกันรับผิดชอบในการจัดสัมมนาสาธารณะ 1 หัวข้อ โดยกำหนดหัวข้อสัมมนา การเชิญวิทยากรและการจัดเตรียมงานทั้งหมด 

                         3. การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลของการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรนี้ ดังนั้นผู้เข้าอบรมทุกคนจะต้องจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดยมีหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และจะต้องนำเสนอและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักสูตร ภายในวันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2559

                       4. การศึกษาดูงาน แบ่งเป็นการศึกษาดูงานในองค์กรด้านสื่อ หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับสื่อ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาดูงานในส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ และการศึกษาดูงานในส่วนภูมิภาค

 

ระยะเวลาและขอบเขตของการอบรม

            การอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง รุ่นที่ 6 ในครั้งนี้ ได้กำหนดระยะเวลาในการอบรม 6 เดือน หรือประมาณ 24 สัปดาห์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 26 กันยายน 2558 – วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2559 การอบรมจัดขึ้นทุกวันเสาร์ ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน ระยะเวลาอบรมรวม 165 ชั่วโมง แบ่งการอบรมเป็น 2 ภาค ดังนี้

                      1. ภาควิชาการ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมในชั้นเรียนทุกวันเสาร์ ซึ่งการอบรมจะเป็นรูปแบบของ          การบรรยาย การอภิปรายและการสัมมนา โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการอบรมสามารถร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ตามหัวข้อที่กำหนด ประกอบด้วย

                        1.1. การบรรยายและอภิปราย                                                            93                     ชั่วโมง

                        1.2. การสัมมนา                                                                             18                     ชั่วโมง

                                    การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน                                              15                     ชั่วโมง

                                    การสัมมนาสาธารณะ (บสส.) รุ่นที่ 6                                        3                      ชั่วโมง    

                        1.3. การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและชี้แจงการทำรายงาน                  18                     ชั่วโมง

                        1.4. การศึกษาดูงาน                                                                       36                     ชั่วโมง

                                    ส่วนกลาง                                                                          6                     ชั่วโมง

                                    ส่วนภูมิภาค                                                                      30                     ชั่วโมง

            ภาพรวมการแบ่งสัดส่วนแต่ละกลุ่มของการอบรมในหลักสูตรนี้ ประกอบด้วย การบรรยายและอภิปราย คิดเป็นร้อยละ 56.36 การสัมมนาและการจัดสัมมนาสาธารณะ ร้อยละ 10.91 การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและการชี้แจงการทำรายงาน ร้อยละ 10.91 การศึกษาดูงาน ร้อยละ 21.82

             2. ภาคการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและคณะกรรมการหลักสูตร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

                 1. การนำเสนอหัวข้อและเค้าโครง

                 2. การปรึกษาคณะกรรมการหลักสูตร 

                 3. การนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมอบรม คนละ 10 นาที โดยมีคณะกรรมการหลักสูตรร่วมวิพากษ์และผู้เข้าอบรมร่วมเสนอแนะ ก่อนการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลฉบับสมบูรณ์

 

เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม

            ในการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง ได้มีการกำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการอบรมไว้ดังต่อไปนี้

            1. ต้องมีเวลาเข้าฟังและเสนอความคิดเห็นในห้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด

            2. มีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดหลักสูตร และต้องเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาดูงาน การจัดสัมมนากลุ่มย่อยและการจัดสัมมนาสาธารณะ

            3. จัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลและส่งตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร

            4. จัดทำรายงานและนำเสนอผลงานหรืองานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลา และจะต้องส่งฉบับสมบูรณ์ก่อนวันปิดการอบรม 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรในการพิจารณาจบหลักสูตร

องค์ประกอบของหลักสูตร

            การอบรมครั้งนี้ แบ่งออกได้เป็น 6 หมวดวิชา ดังนี้

           1. การเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง                                           จำนวน     24     ชั่วโมง

           2. เศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ                                         จำนวน     15     ชั่วโมง

           3. สังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน          จำนวน     18     ชั่วโมง

           4. หลักการบริหารและเทคโนโลยีการสื่อสาร                                  จำนวน     18     ชั่วโมง

           5. กฎหมายเกี่ยวกับสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพ                          จำนวน      9     ชั่วโมง

           6. วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน                                                    จำนวน      9     ชั่วโมง

 

 

หมวดวิชาที่ 1 ว่าด้วยการเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 24 ชั่วโมง ประกอบด้วย

  • ประชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญใหม่                                                  จำนวน     3     ชั่วโมง
  • การเปลี่ยนผ่านการเมืองไทยด้วยสันติวิธี                                        จำนวน     3     ชั่วโมง
  • ทิศทางการปฏิรูปประเทศยุค คสช. และหลังการเลือกตั้ง                    จำนวน     3     ชั่วโมง
  • การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย                                                จำนวน     3     ชั่วโมง
  • การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น                                                        จำนวน     3     ชั่วโมง
  • การปฏิรูประบบราชการไทย                                                         จำนวน     3     ชั่วโมง
  • กองทัพกับการเมือง                                                                   จำนวน     3     ชั่วโมง
  • ดุลอำนาจ 2 ผู้นำโลกและผลกระทบต่ออาเซียน                                จำนวน     3     ชั่วโมง

 

หมวดวิชาที่ 2 ว่าด้วยหลักเศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย

                        2.1. นโยบายการเงินกับทิศทางเศรษฐกิจไทย                                           จำนวน     3     ชั่วโมง

                        2.2. ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจไทย (นโยบายการคลัง)                                จำนวน     3     ชั่วโมง

                        2.3. ทางออกจากกับดักเศรษฐกิจไทย                                                     จำนวน     3     ชั่วโมง

                        2.4. ปัญหาเศรษฐกิจไทย: ความเหลื่อมล้ำในสังคม                                     จำนวน     3     ชั่วโมง

                        2.5. ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น : ผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย             จำนวน     3     ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ 3 ว่าด้วยปัญหาสังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน             จำนวน    18  ชั่วโมง ประกอบด้วย

                       3.1. ทางออกและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้              จำนวน     3     ชั่วโมง

                       3.2. ปัญหาการค้ามนุษย์ในภูมิภาคอาเซียน                                                 จำนวน     3     ชั่วโมง

                       3.3. ปัญหาสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว                                                 จำนวน     3     ชั่วโมง

                       3.4. การปฏิรูประบบการศึกษาไทย                                                             จำนวน     3     ชั่วโมง

                       3.5. การปฏิรูประบบประกันสุขภาพ                                                              จำนวน     3     ชั่วโมง

                      3.6. วิกฤติความน่าเชื่อถือองค์กรพลังงานไทย                                                 จำนวน     3     ชั่วโมง

                                                                         

หมวดวิชาที่ 4 ว่าด้วย หลักการบริหารและเทคโนโลยีการสื่อสาร จำนวน  18  ชั่วโมง ประกอบด้วย

                        4.1. หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร : องค์กรเอกชน กรณีเครือเอสซีจี                      จำนวน     3     ชั่วโมง

                        4.2. หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร : การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ                                 จำนวน     3     ชั่วโมง

                        4.3. หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร : องค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไร (เอ็นจีโอ)           จำนวน     3     ชั่วโมง

                        4.4. สังเคราะห์หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร                                             จำนวน     3     ชั่วโมง

                        4.5. การบริหารเชิงกลยุทธ์                                                                              จำนวน     3     ชั่วโมง

                        4.6. ความท้าทายการบริหารสื่อยุคใหม่                                                               จำนวน     3     ชั่วโมง

 

หมวดวิชาที่ 5 ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพจำนวน 9 ชั่วโมง ประกอบด้วย

                        5.1. การปรับโครงสร้าง กสทช. กับอนาคตธุรกิจสื่อ                                               จำนวน     3     ชั่วโมง

                        5.2. การปฏิรูปสื่อในกรอบรัฐธรรมนูญ                                                              จำนวน     3     ชั่วโมง

                        5.3. เสรีภาพสื่อไทยในบริบทอาเซียน                                                              จำนวน     3     ชั่วโมง

 

หมวดวิชาที่ 6 ว่าด้วยประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ จำนวน 9  ชั่วโมง ประกอบด้วย

                        6.1. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1                                                    จำนวน     3     ชั่วโมง

                        6.2. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2                                                    จำนวน     3     ชั่วโมง

                      6.3. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 3                                                    จำนวน     3     ชั่วโมง

 

  

 

ตารางการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 6

ระยะเวลาการอบรม 6 เดือน หรือ 24 สัปดาห์

ระหว่างวันที่ 26 กันยายน 2558 – วันที่ 9 เมษายน 2559

 

                 วันเสาร์ที่ 26 กันยายน 2558

 

การปฐมนิเทศ ผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 6

ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน

                 วันเสาร์ที่ 3 – วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2558

 

การสัมมนาเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการอบรม หลักสูตร (บสส.) รุ่นที่ 6

ณ โรงแรมเดอะไทด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา บางแสน จังหวัดชลบุรี

สัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2558

(หัวข้อที่ 1)

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย

โดย ดร.จักรกฤษณ์ ควรพจน์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านกฎหมายเศรษฐกิจ

       สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

(หัวข้อที่ 2)

ประชาธิปไตยในร่างรัฐธรรมนูญใหม่

โดย ศ.กิตติคุณ ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ  อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

สัปดาห์ที่ 2 วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2558

(หัวข้อที่ 3)

การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

โดย รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม

        อาจารย์ประจำภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(หัวข้อที่ 4)

กองทัพกับการเมือง

โดย ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                 วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2558

 

งดบรรยาย           

 

สัปดาห์ที่ 3 วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2558

(หัวข้อที่ 5)

การเปลี่ยนผ่านการเมืองไทยด้วยสันติวิธี

โดย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอนันท์ หัวหน้าสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ชี้แจงการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล

โดย คณะกรรมการหลักสูตร

การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล เข้าใจหลักการวิจัยเบื้องต้น

       รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ นักวิชาการด้านวารสารศาสตร์

       รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรมการจัดการ

       สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

       ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

สัปดาห์ที่ 4 วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2558

(หัวข้อที่ 6)

ดุลอำนาจของ 2 ผู้นำโลกและผลกระทบต่ออาเซียน

โดย รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี

       ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(หัวข้อที่ 7)

ทิศทางการปฏิรูปประเทศยุค คสช. และหลังการเลือกตั้ง

โดย ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

       ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อดีตเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูป

สัปดาห์ที่ 5 วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2558

(หัวข้อที่ 8)

การปฏิรูประบบราชการไทย

โดย ศ.พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

(หัวข้อที่ 9)

ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “ข้อตกลง TPP ไทยได้-เสีย?”

โดย ดร.จักรกฤษณ์ ควรพจน์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านกฎหมายเศรษฐกิจ

       สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

       นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ ที่ปรึกษาสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

สัปดาห์ที่ 6 วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2558

 

ศึกษาดูงานส่วนกลาง

ณ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - ไทยรัฐทีวี และ SCG EXPERIENCE

                 วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2558

(หัวข้อที่ 10)

นโยบายการเงินกับทิศทางเศรษฐกิจไทย                                   

โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

 

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 1

หัวข้อ "สื่อ เสี่ยง สวย"

สัปดาห์ที่ 7 วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2558    

(หัวข้อที่ 11)

ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจไทย (นโยบายการคลัง)

โดย ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง 

       สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

 

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 5

หัวข้อ "เรียงช่องดิจิตอลทีวี ใครได้ ใครเสีย แก้ปัญหาได้จริงหรือ"

                 วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2558

 

งดบรรยาย

 

สัปดาห์ที่ 8 วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2558        

(หัวข้อที่ 12)

ทางออกจากกับดักเศรษฐกิจไทย

โดย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิแอดไวเซอร์ จำกัด

       นักเศรษฐศาสตร์อิสระและอดีตเศรษฐกรอาวุโส ประจำธนาคารโลก

(หัวข้อที่ 13)

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 2

หัวข้อ "เช็ค-ชัวร์-แชร์ โพสต์อย่างไรให้โดนใจ-ไม่โดนฟ้อง"

สัปดาห์ที่ 9 วันศุกร์ที่ 18 – วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2558

 

ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดเพชรบุรี – ประจวบคีรีขันธ์

 

สัปดาห์ที่ 10 วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2558                  

 

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 3

หัวข้อ "ประมูลเลขสวย รวยบุญ หมุนดวงชะตา"

 

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 4

หัวข้อ "อุ้มบุญ เป็นธรรมหรือทำลาย"

                   วันเสาร์ที่ 2 มกราคม 2559

 

งดบรรยาย

 

สัปดาห์ที่ 11 วันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2559

(หัวข้อที่14)

ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น : ผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย

โดย นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

       และกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ

 

ปัญหาเศรษฐกิจไทย : ความเหลื่อมล้ำในสังคม

โดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล  อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

สัปดาห์ที่ 12 วันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2559

(หัวข้อที่15)

ทางออกและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

โดย พลโทปราการ ชลยุทธ รองเสนาธิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย

(หัวข้อที่ 16)

ปัญหาการค้ามนุษย์ในภูมิภาคอาเซียน

โดย นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด   

สัปดาห์ที่ 13 วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2559

(หัวข้อที่ 17)

ปัญหาสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว

โดย นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก

       นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 และอดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและ

       ครอบครัวกลาง

(หัวข้อที่ 18)

 การปฏิรูประบบการศึกษาไทย

โดย นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

สัปดาห์ที่ 14 วันศุกร์ที่ 29 - วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2559

 

ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2

ณ กัวลาลัมเปอร์ – ปีนัง ประเทศมาเลเซีย – หาดใหญ่ ประเทศไทย

สัปดาห์ที่ 15 วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559

(หัวข้อที่ 19)

หลักธรรมาภิบาลการบริหาร : องค์กรเอกชน กรณีเครือเอสซีจี

โดย นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเอสซีจี

(หัวข้อที่ 20)

ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 หัวข้อ "การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ"

โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

       นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

      นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

      และกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ

สัปดาห์ที่ 16 วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559

(หัวข้อที่ 21)

หลักธรรมาภิบาลการบริหาร : การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

โดย นางสาวชุณหจิต สังข์ใหม่ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง

(หัวข้อที่ 22)

หลักธรรมาภิบาลการบริหาร : องค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไร (เอ็นจีโอ)

โดย นายศรีสุวรรณ ควรขจร ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)

สัปดาห์ที่ 17 วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559

(หัวข้อที่ 23)

สังเคราะห์หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร

(หัวข้อที่ 24)

การปฏิรูประบบประกันสุขภาพ                                 

โดย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)

สัปดาห์ที่ 18 วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559

(หัวข้อที่ 25)

วิกฤตความน่าเชื่อถือองค์กรพลังงานไทย

โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

 

 นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (1)

สัปดาห์ที่ 19 วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559                     

 

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (2)

(หัวข้อที่ 26)

การบริหารเชิงกลยุทธ์

โดย นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย 

สัปดาห์ที่ 20 วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม 2559                    

(หัวข้อที่ 27)

ความท้าทายการบริหารสื่อยุคใหม่

โดย นายพิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์ บรรณาธิการอำนวยการบริษัท โพสต์พับลิชชิง จำกัด (มหาชน)

        นายเขมทัตต์ พลเดช  กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทบางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง (PPTV)

        นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม ผู้อำนวยการฝ่ายบรรณาธิการ สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี

 

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (3)

สัปดาห์ที่ 21 วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2559                    

(หัวข้อที่ 28)

ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 3 หัวข้อ “อนาคตโทรคมนาคม หลังประมูล 4 G”

โดย นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์

       และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

      นายพิสุทธิ์ งามวิจิตวงศ์ นักวิเคราะห์ บริษัท CIMB Securities (Thailand)   

      นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด เอไอเอส

 

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (4)

สัปดาห์ที่ 22 วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2559

(หัวข้อที่ 29)

การปรับโครงสร้าง กสทช. กับอนาคตธุรกิจสื่อ

โดย ผศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

       ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช.                                                             

       นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คณะทำงานติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch)

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (5)

สัปดาห์ที่ 23 วันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2559

(หัวข้อที่ 30)

การปฏิรูปสื่อในกรอบรัฐธรรมนูญ

โดย รศ.จุมพล รอดคำดี อดีตประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ

        สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)

        นายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและประธานคณะกรรมการสื่อเพื่อการปฏิรูป

(หัวข้อที่ 31)

เสรีภาพสื่อไทยในบริบทอาเซียน

โดย นายกวี จงกิจถาวร สื่อมวลชนอิสระ

สัปดาห์ที่ 24 วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2559

 

การจัดสัมมนาสาธารณะ

หัวข้อ "ฝ่า...วิกฤตน้ำ!"

ณ ห้องประชุม Convention Hall 2 “อาคารศูนย์การเรียนรู้ อาคาร D สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

โดย ผู้เข้าอบรมหลักสูตร (บสส.) รุ่นที่ 6

 

 

 

หลักสูตรสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)

  • หลักการและเหตุผล
  • คณะกรรมการหลักสูตร
  • รายชื่อผู้อบรม
  • ดาวน์โหลดเอกสาร บสส.
  • ข่าวสารและการอบรม บสส.
  • ภาพกิจกรรม
  • เอกสารวิชาการ/รายงานเฉพาะบุคคล
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
  • ข่าวสารและการอบรม
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ

ISRA Institute Thai Press Development Foundation
สำนักงาน : เลขที่ 538/1 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
Copyright (C) 2015  www.isra.or.th  All rights reserved.
telephone 0-2241-3905  fax  0-2241-3906

Implemented Website by ColorPack Creations Co., Ltd.
GO TO TOP
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
    • ความเป็นมา
    • ผลงานที่ผ่านมา
    • โครงสร้างสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
    • กิจกรรมในยุคแรก
    • กิจกรรมปี 2549
    • กิจกรรมปี 2550
    • กิจกรรมปี 2551
    • กิจกรรมปี 2552
    • กิจกรรมปี 2553
    • กิจกรรมปี 2564
    • กิจกรรมปี 2565
    • กิจกรรมปี 2566
  • ข่าวสารและการอบรม
    • หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
    • หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.)
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ