logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
    • ความเป็นมา
    • ผลงานที่ผ่านมา
    • โครงสร้างสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
    • กิจกรรมในยุคแรก
    • กิจกรรมปี 2549
    • กิจกรรมปี 2550
    • กิจกรรมปี 2551
    • กิจกรรมปี 2552
    • กิจกรรมปี 2553
    • กิจกรรมปี 2564
    • กิจกรรมปี 2565
    • กิจกรรมปี 2566
  • ข่าวสารและการอบรม
    • หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
    • หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.)
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ
logo
  • Home
  • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
  • หลักการและเหตุผล
  • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสส.) รุ่นที่ 8

หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสส.) รุ่นที่ 8

Created
Tuesday, 17 July 2018

หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง

ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสส.) รุ่นที่ 8

isralogo 01032017

หลักการและเหตุผล

ในสภาวการณ์ที่ประเทศชาติกำลังต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและมีความเห็นที่แตกต่างจนนำไปสู่ความแตกแยกของผู้คนในสังคม สื่อมวลชนเป็นความหวังหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมไปถึงการช่วยบรรเทาเยียวยาเพื่อสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในสังคมได้ แม้ว่าหลายครั้งที่ผ่านมาสื่อมวลชนก็อาจถูกตั้งคำถามถึงบทบาทและการทำหน้าที่ แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ สื่อมวลชนยังคงเป็นตัวกลางในการสร้างความรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชนและผู้คนในสังคม ต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างประชาชนกับฐานอำนาจของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม บทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงถือว่ามีความสำคัญยิ่ง

ในยุคของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ทำให้ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมีจำนวนมาก ทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือกต่าง ๆ แม้แต่สื่อหลักอย่างสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ก็มีหลากหลายทางเลือกให้กับผู้บริโภค ยังไม่รวมสื่อสังคมออนไลน์ สื่อบุคคลเรียกได้ว่า ทุกคนสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูลข่าวสารได้ทั้งสิ้น แต่ถึงที่สุดแล้ว สื่อมวลชนต้องมีบทบาทหน้าที่ในการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงมีความสำคัญ แม้ว่าสื่อมวลชนจะมีสิทธิและเสรีภาพในการทำหน้าที่ แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ได้รับความน่าเชื่อถือ และการยอมรับจากสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้สื่อมวลชนแตกต่างจากสื่อบุคคลอื่น

นับเป็นโอกาสอันดี การที่องค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนของไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้าง เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และนำไปสู่การเพิ่มพูนทักษะความสามารถให้กับบุคลากรในวิชาชีพ ด้านสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบและการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นการช่วยสร้างธรรมาภิบาล ให้เกิดขึ้นและพัฒนาศักยภาพของสื่อในภาคประชาชน ตลอดจนการขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมกับสื่อมวลชน
สถาบันอิศราซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำโครงการฝึกอบรมระยะยาว สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อทางด้านโทรทัศน์ดิจิทัล เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการปรับและขยายตัวของสื่อโทรทัศน์ทำให้มีจำนวนช่องที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การผลิตหรือการสร้างบุคลากรเพื่อรองรับธุรกิจสื่อที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วยังไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการไหลเวียนของบุคลากรในวิชาชีพสื่อทางด้านสิ่งพิมพ์และวิทยุเข้ามาทำงานด้านโทรทัศน์แทน ในขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้สื่อข่าวกลายเป็นคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษาและยังขาดประสบการณ์ แต่ต้องตกอยู่ท่ามกลางสภาวการณ์แข่งขันที่ทวีความรุนแรงของสื่อโทรทัศน์ ทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในยุคนี้ ด้วยเหตุนี้ ทำให้สถาบันอิศราได้ตระหนักถึงบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยที่จะเป็นกระจกเงาสะท้อนความเป็นไปของสังคม คอยนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะให้กับบุคลากรในวิชาชีพสื่อมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


การจัดโครงการอบรมหลักสูตระยะยาว เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้บริหารระดับสูง ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระและส่วนราชการ รวมทั้งภาคเอกชน ภายใต้หลักสูตรที่ชื่อว่า หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสส.) รุ่นที่ 8 เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารจากองค์กรด้านสื่อสารมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นระหว่างกันร่วมกับนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดแนวคิด สร้างทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาชีพของตนเองและประเทศชาติต่อไปได้

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสส.) รุ่นที่ 8 บรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อเปิดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม ในหัวข้อทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคดิจิทัล สิ่งแวดล้อมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2. เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน

3. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการบริหารสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสื่อและผู้เกี่ยวข้อง

4. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ

5. เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับนักวิชาการและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม

สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสส.) รุ่นที่ 8 ในโครงการนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

1. ผู้บริหารระดับสูงจากสื่อมวลชน วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่เป็นผู้บริหารองค์กร ตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกข่าวขึ้นไป และที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน

2. นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน เป็นผู้บริหารหรือเคยเป็นผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชาหรือเทียบเท่าขึ้นไป มีอายุการทำงานทางวิชาการ ไม่น้อยกว่า 15 ปี และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน

3. ผู้บริหารองค์กรระดับสูงองค์กรพัฒนาเอกชน ตั้งแต่ระดับผู้จัดการ และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน

4. ผู้บริหารระดับสูงองค์กรของรัฐ ส่วนราชการ ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่าย และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน

5. ผู้บริหารองค์กรเอกชน ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการ หรือ ผู้จัดการ ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน

6. ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตร

จำนวนผู้เข้าอบรม

รวมทั้งสิ้น 55 คน ซึ่งเป็นจำนวนผู้เข้าอบรมที่มีความเหมาะสม ทำให้ผู้เข้าอบรมทั้งหมดสามารถจดจำกันได้อย่างทั่วถึง และสะดวกในการจัดทำกิจกรรมกลุ่มในระหว่างการอบรมด้วย ส่วนการกำหนดสัดส่วนผู้เข้าอบรมแต่ละกลุ่มวิชาชีพสามารถที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง

ค่าใช้จ่ายในการอบรม

ผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

วิธีดำเนินการอบรม

การอบรมหลักสูตรนี้มีวิธีการศึกษาดังนี้

1. การบรรยายและอภิปราย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคดิจิทัล และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามเนื้อหาวิชาและหัวข้อที่กำหนด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจากหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรการอบรมยังได้กำหนดให้มีการเปิดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นระหว่างกัน

2. การสัมมนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้กำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจหรือเป็นข้อถกเถียงของสังคม เป็นการจัดเวทีเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน และนำเสนอความคิดเห็นสู่สาธารณะ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน และการจัดสัมมนาสาธารณะซึ่งเป็นผลงานของผู้เข้าอบรม โดยเปิดโอกาสให้เชิญบุคคลภายนอก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดเห็น ข้อเท็จจริง เพื่อนำไปสู่การเสนอทางออก แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป

2.1. ผู้เข้าอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำสัมมนาทั้ง 2 ส่วน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมในหลักสูตรนี้

2.2. มีการแบ่งผู้เข้าอบรม ออกเป็น 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการจัดสัมมนาหรือเสวนา เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง

2.3. ผู้เข้าอบรมหลักสูตร ในหลักสูตรนี้ จะต้องร่วมกันรับผิดชอบในการจัดสัมมนาสาธารณะ 1 หัวข้อ โดยกำหนดหัวข้อสัมมนา การเชิญวิทยากรและการจัดเตรียมงานทั้งหมด


3. การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลของการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรนี้ ดังนั้นผู้เข้าอบรมทุกคนจะต้องจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดยมีหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และจะต้องนำเสนอและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักสูตร ก่อนสิ้นสุดการอบรม

4. การศึกษาดูงาน แบ่งเป็นการศึกษาดูงานในองค์กรด้านสื่อ หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับสื่อภายในประเทศรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาดูงานในส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ 1 ครั้ง (ภายใน 1 วัน) และการศึกษาดูงานในส่วนภูมิภาค 2 ครั้ง ( 2 วัน และ 3 วัน ) ซึ่งผู้เข้าอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการศึกษาดูงานอย่างเหมาะสม

 

ระยะเวลาและขอบเขตของการอบรม

การอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รุ่นที่ 8 ในครั้งนี้ กำหนดระยะเวลาในการอบรมแต่ละรุ่นนาน 6 เดือน หรือประมาณ 24 สัปดาห์ การอบรมจัดขึ้นทุกวันเสาร์ ระหว่างวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2561 – วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน ระยะเวลาอบรมรวม 141 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ภาค ดังนี้

1. ภาควิชาการ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมในชั้นเรียนทุกวันเสาร์ ซึ่งการอบรมจะเป็นรูปแบบของการบรรยาย การอภิปรายและการสัมมนา โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการอบรมสามารถร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ตามหัวข้อที่กำหนด ประกอบด้วย

1.1. การบรรยายและอภิปราย 69 ชั่วโมง

1.2. การสัมมนา 18 ชั่วโมง

การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน 15 ชั่วโมง

การจัดสัมมนาสาธารณะ 3 ชั่วโมง

1.3. การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและชี้แจงการทำรายงาน 18 ชั่วโมง

1.4. การศึกษาดูงาน 36 ชั่วโมง

ส่วนกลาง 6 ชั่วโมง

ส่วนภูมิภาค 30 ชั่วโมง

ภาพรวมการแบ่งสัดส่วนแต่ละกลุ่มของการอบรมในหลักสูตรนี้ ประกอบด้วย การบรรยายและอภิปราย คิดเป็นร้อยละ 48.94 การสัมมนาและการจัดสัมมนาสาธารณะ ร้อยละ 12.76 การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและการชี้แจงการทำรายงาน ร้อยละ 12.76 การศึกษาดูงาน ร้อยละ 25.54 

2. ภาคการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและคณะกรรมการหลักสูตร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

1. การนำเสนอหัวข้อและเค้าโครง

2. การปรึกษาคณะกรรมการหลักสูตร

3. การนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมอบรม คนละ 10 นาที โดยมีคณะกรรมการหลักสูตรร่วมวิพากษ์และผู้เข้าอบรมร่วมเสนอแนะ ก่อนการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลฉบับสมบูรณ์

เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม

ในการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสส.) รุ่นที่ 8 ได้กำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการอบรมไว้ดังต่อไปนี้

1. ต้องมีเวลาเข้าฟังและเสนอความคิดเห็นในห้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด

2. มีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดหลักสูตร และต้องเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาดูงาน การจัดสัมมนากลุ่มย่อยและการจัดสัมมนาสาธารณะ

3. จัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลและส่งตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร

4. จัดทำรายงานและนำเสนอผลงานหรืองานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลา และจะต้องส่งฉบับสมบูรณ์เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรในการพิจารณาจบหลักสูตร

องค์ประกอบของหลักสูตร แบ่งออกได้เป็น 5 หมวดวิชา จำนวน 69 ชั่วโมง ประกอบด้วย

1. การเมืองเศรษฐกิจโลก จำนวน 12 ชั่วโมง

2. การเมือง เศรษฐกิจ สังคมประเทศไทย จำนวน 24 ชั่วโมง

3. หลักการบริหารและเทคโนโลยีการสื่อสาร จำนวน 18 ชั่วโมง

4. กฎหมายเกี่ยวกับสื่อมวลชน เสรีภาพกับความรับผิดชอบของสื่อ จำนวน 9 ชั่วโมง

6. วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน จำนวน 6 ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ 1 ว่าด้วยการเมืองเศรษฐกิจโลกที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย

1.1. ภูมิศาสตร์และดุลอำนาจการเมืองโลก จำนวน 3 ชั่วโมง

1.2. สงครามการค้า...เศรษฐกิจโลก จำนวน 3 ชั่วโมง

1.3. เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงโลกกับผลกระทบทางธุรกิจ จำนวน 3 ชั่วโมง

1.4. การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำนวน 3 ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ 2 ว่าด้วยการเมือง เศรษฐกิจ สังคมประเทศไทย จำนวน 24 ชั่วโมง ประกอบด้วย

2.1. ดุลอำนาจในการเมืองไทย จำนวน 3 ชั่วโมง

2.2. รัฐธรรมนูญไทย จำนวน 3 ชั่วโมง

2.3. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (ปฏิรูปตำรวจ) จำนวน 3 ชั่วโมง

2.4. อนาคตเศรษฐกิจไทย จำนวน 3 ชั่วโมง

2.5. อนาคตประเทศไทย : ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จำนวน 3 ชั่วโมง

2.6. มุมมองใหม่กับปัญหาคอร์รัปชั่นในสังคมไทย จำนวน 3 ชั่วโมง

2.7. ระบบหลักประกันสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมง

2.8. ทิศทาง แนวโน้ม ปัญหาสิทธิมนุษยชน จำนวน 3 ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ 3 ว่าด้วยการบริหารและเทคโนโลยีการสื่อสารจำนวน 18 ชั่วโมง ประกอบด้วย

3.1. การบริหารธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อความยั่งยืน จำนวน 3 ชั่วโมง

3.2. สตาร์ทอัฟ (Startup) เปลี่ยนโลกธุรกิจ จำนวน 3 ชั่วโมง

3.3. Media Business Model จำนวน 3 ชั่วโมง

3.4. การบริหารเชิงกลยุทธ์ : ภาวะผู้นำ จำนวน 3 ชั่วโมง

3.5. ความอยู่รอดของธุรกิจสื่อ จำนวน 3 ชั่วโมง

3.6. อนาคตเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับผลกระทบสื่อ จำนวน 3 ชั่วโมง


หมวดวิชาที่ 4 ว่าด้วย กฎหมายเกี่ยวกับสื่อมวลชน เสรีภาพกับความรับผิดชอบของสื่อ จำนวน 9 ชั่วโมง ประกอบด้วย

4.1. สถานการณ์สื่อโลก อาเซียนและไทย จำนวน 3 ชั่วโมง

4.2. ความรับผิดชอบกับการรู้เท่าทันสื่อ จำนวน 3 ชั่วโมง

4.3. ความมั่นคงไซเบอร์กับการอภิบาลอินเทอร์เน็ต จำนวน 3 ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ 5 ว่าด้วยประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ จำนวน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย

5.1. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง

5.2. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 จำนวน 3 ชั่วโมง

 

กำหนดการหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง

ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสส.) รุ่นที่ 8

ระยะเวลาการอบรม 6 เดือน หรือ 24 สัปดาห์ (141 ชั่วโมง)

ระหว่างวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2561 – วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562

 

สัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2561

การปฐมนิเทศ ผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียง

และกิจการโทรทัศน์ (บสส.) รุ่นที่ 8 ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ถนนสามเสน กรุงเทพฯ

สัปดาห์ที่ 2 วันเสาร์ที่ 25 – วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2561

การสัมมนาเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการอบรม

ณ โรงแรมคลาสสิค คามิโอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สัปดาห์ที่ 3 วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2561

(หัวข้อที่ 1)

ภูมิศาสตร์และดุลอำนาจการเมืองโลก

โดย ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(หัวข้อที่ 2)

สงครามการค้า...เศรษฐกิจโลก

โดย ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา

(UNCTAD) และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO)

สัปดาห์ที่ 4 วันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2561

(หัวข้อที่ 3)

เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงโลกกับผลกระทบทางธุรกิจ

โดย นายธีรนันทน์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท CELAR CONSULTING

ที่ปรึกษาในการวางยุทธศาสตร์องค์กร

(หัวข้อที่ 4)

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

สัปดาห์ที่ 5 วันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2561

(หัวข้อที่ 5)

ดุลอำนาจในการเมืองไทย

โดย ศ.ดร.ไชยยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชี้แจงการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล

โดย คณะกรรมการที่ปรึกษารายงานเฉพาะบุคคล

การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล เข้าใจหลักการวิจัยเบื้องต้น

โดย คณะกรรมการที่ปรึกษารายงานเฉพาะบุคคล

สัปดาห์ที่ 6 วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2561

(หัวข้อที่ 6)

รัฐธรรมนูญไทย

โดย ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ศูนย์กฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(หัวข้อที่ 7)

ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (ปฏิรูปตำรวจ)

โดย นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)

ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ

ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิติยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

(องค์การมหาชน)

สัปดาห์ที่ 7 วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2561

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 1

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 2

สัปดาห์ที่ 8 วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2561

ศึกษาดูงานส่วนกลาง

สัปดาห์ที่ 9 วันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2561

(หัวข้อที่ 8)

อนาคตเศรษฐกิจไทย

โดย ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

(หัวข้อที่ 9)

อนาคตประเทศไทย : ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

โดย นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการ ธนาคารเกียรตินาคิน

สัปดาห์ที่ 10 วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2561

(หัวข้อที่ 10)

ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 3

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2561

งดบรรยาย หยุดต่อเนื่องวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตพระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร

สัปดาห์ที่ 11 วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม 2561

(หัวข้อที่ 11)

มุมมองใหม่กับปัญหาคอร์รัปชั่นในสังคมไทย

โดย ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 4

สัปดาห์ที่ 12 วันศุกร์ที่ 26 – วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม 2561

ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1

สัปดาห์ที่ 13 วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2561

(หัวข้อที่ 12)

ระบบหลักประกันสุขภาพ

โดย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)

สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 5

สัปดาห์ที่ 14 วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2561

(หัวข้อที่ 13)

ทิศทาง แนวโน้ม ปัญหาสิทธิมนุษยชน

โดย นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาประจำประเทศไทย ของฮิวแมนไรท์วอทช์

(หัวข้อที่ 14)

การบริหารธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อความยั่งยืน

โดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์

ในฐานะ ประธานคณะกรรมการเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย

(Global Compact Network Thailand – GCNT)

สัปดาห์ที่ 15 วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2561

(หัวข้อที่ 15)

สตาร์ทอัฟ (Startup) เปลี่ยนโลกธุรกิจ

โดย นายเรืองโรจน์ พูนผล หรือกระทิง ผู้บุกเบิกวงการ Startup เมืองไทย

(หัวข้อที่ 16)

Media Business Model

โดย นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ บริษัทป่าสาละ จำกัด

นายชลากร ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวี

บริษัทเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

สัปดาห์ที่ 16 วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน – วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2561

ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2

สัปดาห์ที่ 17 วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม 2561

(หัวข้อที่ 17)

ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (1)

สัปดาห์ที่ 18 วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2561

(หัวข้อที่ 18)

การบริหารเชิงกลยุทธ์ : ภาวะผู้นำ

โดย นางอริญญา เถลิงศรี Chief Capability Officer & Managing Director at SEAC

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (2)

สัปดาห์ที่ 19 วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2561

(หัวข้อที่ 19)

ความอยู่รอดของธุรกิจสื่อ

โดย นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอิสระ

นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน)

นางสาวเฉลา กาญจนา บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าว และเว็บไซต์ The Bangkok Insight

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (3)

สัปดาห์ที่ 20 วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2561

(หัวข้อที่ 20)

อนาคตเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับผลกระทบสื่อ

โดย นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (4)

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2561

งดบรรยาย หยุดต่อเนื่องวันปีใหม่

สัปดาห์ที่ 21 วันเสาร์ที่ 5 มกราคม 2562

(หัวข้อที่ 21)

สถานการณ์สื่อโลก อาเซียนและไทย

โดย นายกวี จงกิจถาวร สื่อมวลชนอิสระ

นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (5)

สัปดาห์ที่ 22  วันเสาร์ที่ 12 มกราคม 2562

(หัวข้อที่ 22)

ความรับผิดชอบกับการรู้เท่าทันสื่อ

โดย พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ผู้จัดทำเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา (หมอมินบานเย็น)

นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน

นางรุ่งมณี เมฆโสภณ คณะกรรมการนโยบาย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

(หัวข้อที่ 23)

ความมั่นคงไซเบอร์กับการอภิบาลอินเทอร์เน็ต

โดย ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต รองประธานมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNICF)

ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สัปดาห์ที่ 23 วันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2562

การจัดสัมมนาสาธารณะ

โดย ผู้เข้าอบรมหลักสูตร (บสส.) รุ่นที่ 8

สัปดาห์ที่ 24 วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562

การสัมมนาปิดการอบรม

 


หมายเหตุ


กำหนดการฝึกอบรมที่ได้กำหนดรายชื่อวิทยากรไว้แล้วนั้น เป็นการติดต่อประสานงานล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดการจริง อาจมีการเปลี่ยนแปลงวิทยากรหรือเปลี่ยนเวลาในการบรรยายได้ ในกรณีที่วิทยากรติดภารกิจด่วน ซึ่งการเชิญวิทยากรท่านอื่นมาทดแทน ทางสถาบันอิศราฯ จะเชิญวิทยากรที่มีคุณสมบัติและคุณวุฒิที่ใกล้เคียงกับวิทยากรท่านเดิม

 

ดาวน์โหลดใบสมัคร 

file:///C:/Users/Administrator.ALIENWARE/Downloads/isra.html

 

 

 

หลักสูตรสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)

  • หลักการและเหตุผล
  • คณะกรรมการหลักสูตร
  • รายชื่อผู้อบรม
  • ดาวน์โหลดเอกสาร บสส.
  • ข่าวสารและการอบรม บสส.
  • ภาพกิจกรรม
  • เอกสารวิชาการ/รายงานเฉพาะบุคคล
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
  • ข่าวสารและการอบรม
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ

ISRA Institute Thai Press Development Foundation
สำนักงาน : เลขที่ 538/1 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
Copyright (C) 2015  www.isra.or.th  All rights reserved.
telephone 0-2241-3905  fax  0-2241-3906

Implemented Website by ColorPack Creations Co., Ltd.
GO TO TOP
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
    • ความเป็นมา
    • ผลงานที่ผ่านมา
    • โครงสร้างสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
    • กิจกรรมในยุคแรก
    • กิจกรรมปี 2549
    • กิจกรรมปี 2550
    • กิจกรรมปี 2551
    • กิจกรรมปี 2552
    • กิจกรรมปี 2553
    • กิจกรรมปี 2564
    • กิจกรรมปี 2565
    • กิจกรรมปี 2566
  • ข่าวสารและการอบรม
    • หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
    • หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.)
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ