- Home
- หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
- หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 6
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 6
หลักการและเหตุผล
ในสภาวการณ์ที่ประเทศชาติกำลังต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาและความเห็นที่แตกต่าง สื่อมวลชนจึงเป็นความหวังหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อช่วยบรรเทาและเยียวยาสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมได้ ในขณะเดียวกันสื่อมวลชนก็อาจถูกตั้งคำถามถึงบทบาทและการทำหน้าที่ได้เช่นกัน เพราะสื่อคือตัวกลางในการสร้างความรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน สื่อจึงต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างประชาชนกับฐานอำนาจของกลุ่มการเมือง
สถานการณ์ด้านการคุกคามสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย เริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา มีทั้งรูปแบบและวิธีการใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยและแยบยลจนยากที่จะแยกได้ว่า นั่นก็คือ การแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อ ความพยายามของกลุ่มทุนที่แอบแฝงเข้ามาอยู่ในกลุ่มธุรกิจการเมือง การใช้กลยุทธ์และหลักการตลาดเข้ามาช่วยในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ชูนโยบายใหม่ๆ เพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นกับกลุ่มของตัวเอง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั้งสิ้น
นับเป็นโอกาสอันดี การที่องค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนของไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการปฏิรูปสื่อ โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยเสริมสร้าง องค์ความรู้ที่จำเป็นในการพัฒนาระบบการเข้าถึงและการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นการช่วยสร้างธรรมาภิบาล ให้เกิดขึ้นและพัฒนาศักยภาพของสื่อในภาคประชาชน ตลอดจนการขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคมกับสื่อมวลชน
ดังนั้น ทางสถาบันอิศราจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมระยะยาวขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้บริหารระดับสูงที่ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระและส่วนราชการ รวมทั้งภาคเอกชน ภายใต้หลักสูตรที่ชื่อว่า “หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)” รุ่นที่ 6 เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารจากองค์กรด้านสื่อสารมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นระหว่างกันร่วมกับนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นเป็นการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดแนวคิด สร้างทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้ง ยังสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาชีพของตนเองและประเทศชาติต่อไปได้
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม “หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)” รุ่นที่ 6 สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อเปิดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม ในหัวข้อทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน
3. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการบริหารสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสื่อและผู้เกี่ยวข้อง
4. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ
5. เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับนักวิชาการและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงในโครงการนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้บริหารระดับสูงจากสื่อมวลชน ด้านหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เป็นผู้บริหารองค์กร ตั้งแต่ระดับหัวหน้า แผนกข่าวขึ้นไป และที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน
2. นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชาหรือเทียบเท่าขึ้นไป และมีอายุการทำงานทางวิชาการ ไม่น้อยกว่า 15 ปี จำนวน 6 คน
3. ผู้บริหารองค์กรระดับสูงองค์กรพัฒนาเอกชน ตั้งแต่ระดับผู้จัดการ และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
4. ผู้บริหารระดับสูงองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ส่วนราชการ ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่าย และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
5. ผู้บริหารองค์กรเอกชน ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการ หรือ ผู้จัดการ ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 8 คน
6. ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตร
จำนวนผู้เข้าอบรม
รวมทั้งสิ้น 54 คน
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
วิธีดำเนินการอบรม
การอบรมหลักสูตรนี้มีวิธีการศึกษาดังนี้
1. การบรรยายและอภิปราย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามเนื้อหาวิชาและหัวข้อที่กำหนด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจากหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรการอบรมยังได้กำหนดให้มีการเปิดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นระหว่างกัน
2. การสัมมนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้กำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจหรือเป็นข้อถกเถียงของสังคม เป็นการจัดเวทีเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน และนำเสนอความคิดเห็นสู่สาธารณะ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน และการจัดสัมมนาสาธารณะซึ่งเป็นผลงานของผู้เข้าอบรมหลักสูตร บสส. รุ่นที่ 6 และเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดเห็น ข้อเท็จจริง เพื่อนำไปสู่การเสนอทางออก แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
2.1. ผู้เข้าอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำสัมมนาทั้ง 2 ส่วน เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมในหลักสูตรนี้
2.2. มีการแบ่งผู้เข้าอบรม ออกเป็น 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการจัดสัมมนาหรือเสวนา เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
2.3. ผู้เข้าอบรมหลักสูตร บสส. รุ่นที่ 6 จะต้องร่วมกันรับผิดชอบในการจัดสัมมนาสาธารณะ 1 หัวข้อ โดยกำหนดหัวข้อสัมมนา การเชิญวิทยากรและการจัดเตรียมงานทั้งหมด
3. การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลของการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรนี้ ดังนั้นผู้เข้าอบรมทุกคนจะต้องจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดยมีหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และจะต้องนำเสนอและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักสูตร ภายในวันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2559
4. การศึกษาดูงาน แบ่งเป็นการศึกษาดูงานในองค์กรด้านสื่อ หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับสื่อ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาดูงานในส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ และการศึกษาดูงานในส่วนภูมิภาค
ระยะเวลาและขอบเขตของการอบรม
การอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง รุ่นที่ 6 ในครั้งนี้ ได้กำหนดระยะเวลาในการอบรม 6 เดือน หรือประมาณ 24 สัปดาห์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 26 กันยายน 2558 – วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2559 การอบรมจัดขึ้นทุก วันเสาร์ ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน ระยะเวลาอบรมรวม 165 ชั่วโมง แบ่งการอบรมเป็น 2 ภาค ดังนี้
1. ภาควิชาการ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมในชั้นเรียนทุกวันเสาร์ ซึ่งการอบรมจะเป็นรูปแบบของ การบรรยาย การอภิปรายและการสัมมนา โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการอบรมสามารถร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ตามหัวข้อที่กำหนด ประกอบด้วย
1.1. การบรรยายและอภิปราย 93 ชั่วโมง
1.2. การสัมมนา 18 ชั่วโมง
การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน 15 ชั่วโมง
การสัมมนาสาธารณะ (บสส.) รุ่นที่ 6 3 ชั่วโมง
1.3. การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและชี้แจงการทำรายงาน 18 ชั่วโมง
1.4. การศึกษาดูงาน 36 ชั่วโมง
ส่วนกลาง 6 ชั่วโมง
ส่วนภูมิภาค 30 ชั่วโมง
ภาพรวมการแบ่งสัดส่วนแต่ละกลุ่มของการอบรมในหลักสูตรนี้ ประกอบด้วย การบรรยายและอภิปราย คิดเป็นร้อยละ 56.36 การสัมมนาและการจัดสัมมนาสาธารณะ ร้อยละ 10.91 การนำเสนอรายงานเฉพาะบุคคลและการชี้แจงการทำรายงาน ร้อยละ 10.91 การศึกษาดูงาน ร้อยละ 21.82
2. ภาคการจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำรายงานเฉพาะบุคคลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและคณะกรรมการหลักสูตร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
1. การนำเสนอหัวข้อและเค้าโครง
2. การปรึกษาคณะกรรมการหลักสูตร
3. การนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมอบรม คนละ 10 นาที โดยมีคณะกรรมการหลักสูตรร่วมวิพากษ์และผู้เข้าอบรมร่วมเสนอแนะ ก่อนการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลฉบับสมบูรณ์
เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม
ในการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง ได้มีการกำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการอบรมไว้ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีเวลาเข้าฟังและเสนอความคิดเห็นในห้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด
2. มีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดหลักสูตร และต้องเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาดูงาน การจัดสัมมนากลุ่มย่อยและการจัดสัมมนาสาธารณะ
3. จัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคลและส่งตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร
4. จัดทำรายงานและนำเสนอผลงานหรืองานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลา และจะต้องส่งฉบับสมบูรณ์ก่อนวันปิดการอบรม 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรในการพิจารณาจบหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
การอบรมครั้งนี้ แบ่งออกได้เป็น 6 หมวดวิชา ดังนี้
1. การเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 24 ชั่วโมง
2. เศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 15 ชั่วโมง
3. สังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน จำนวน 18 ชั่วโมง
4. หลักการบริหารและเทคโนโลยีการสื่อสาร จำนวน 18 ชั่วโมง
5. กฎหมายเกี่ยวกับสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพ จำนวน 9 ชั่วโมง
6. วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน จำนวน 9 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 1 ว่าด้วยการเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 24 ชั่วโมง ประกอบด้วย
1.1. ประชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญใหม่ จำนวน 3 ชั่วโมง
1.2. การเปลี่ยนผ่านการเมืองไทยด้วยสันติวิธี จำนวน 3 ชั่วโมง
1.3. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูป จำนวน 3 ชั่วโมง
1.4. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
1.5. การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จำนวน 3 ชั่วโมง
1.6. การปฏิรูประบบราชการไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
1.7. กองทัพกับการเมือง จำนวน 3 ชั่วโมง
1.8. ดุลอำนาจ 2 ผู้นำโลกและผลกระทบต่ออาเซียน จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 2 ว่าด้วยหลักเศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
2.1. นโยบายการเงินกับทิศทางเศรษฐกิจไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
2.2. ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจไทย (นโยบายการคลัง) จำนวน 3 ชั่วโมง
2.3. ทางออกจากกับดักเศรษฐกิจไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
2.4. ปัญหาเศรษฐกิจไทย: ความเหลื่อมล้ำในสังคม จำนวน 3 ชั่วโมง
2.5. ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น : ผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 3 ว่าด้วยปัญหาสังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน จำนวน 18 ชั่วโมง ประกอบด้วย
3.1. ทางออกและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 3 ชั่วโมง
3.2. ปัญหาการค้ามนุษย์ในภูมิภาคอาเซียน จำนวน 3 ชั่วโมง
3.3. ปัญหาสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน 3 ชั่วโมง
3.4. การปฏิรูประบบการศึกษาไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
3.5. การปฏิรูประบบประกันสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมง
3.6. วิกฤติความน่าเชื่อถือองค์กรพลังงานไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 4 ว่าด้วย หลักการบริหารและเทคโนโลยีการสื่อสาร จำนวน 18 ชั่วโมง ประกอบด้วย
4.1. หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร : องค์กรเอกชน กรณีเครือเอสซีจี จำนวน 3 ชั่วโมง
4.2. หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร : การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จำนวน 3 ชั่วโมง
4.3. หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร : องค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไร (เอ็นจีโอ) จำนวน 3 ชั่วโมง
4.4. สังเคราะห์หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร จำนวน 3 ชั่วโมง
4.5. การบริหารเชิงกลยุทธ์ จำนวน 3 ชั่วโมง
4.6. ความท้าทายการบริหารสื่อยุคใหม่ จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 5 ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพจำนวน 9 ชั่วโมง ประกอบด้วย
5.1. การปรับโครงสร้าง กสทช. กับอนาคตธุรกิจสื่อ จำนวน 3 ชั่วโมง
5.2. การปฏิรูปสื่อในกรอบรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 ชั่วโมง
5.3. เสรีภาพสื่อไทยในบริบทอาเซียน จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 6 ว่าด้วยประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ จำนวน 9 ชั่วโมง ประกอบด้วย
6.1. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง
6.2. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 จำนวน 3 ชั่วโมง
6.3. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 3 จำนวน 3 ชั่วโมง
ตารางการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 6
ระยะเวลาการอบรม 6 เดือน หรือ 24 สัปดาห์
ระหว่างวันที่ 26 กันยายน 2558 – วันที่ 9 เมษายน 2559
วันเสาร์ที่ 26 กันยายน 2558 | |
การปฐมนิเทศ ผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 6 ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน |
|
วันเสาร์ที่ 3 – วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2558 | |
การสัมมนาเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการอบรม หลักสูตร (บสส.) รุ่นที่ 6 ณ โรงแรมเดอะไทด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา บางแสน จังหวัดชลบุรี |
|
สัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 1) |
ประชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญใหม่ โดย ศ.กิตติคุณ ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ |
(หัวข้อที่ 2) |
การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย โดย ดร.จักรกฤษณ์ ควรพจน์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านกฎหมายเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) |
สัปดาห์ที่ 2วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 3) |
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดย รศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า |
(หัวข้อที่ 4) |
กองทัพกับการเมือง โดย ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2558 | |
งดบรรยาย
|
|
สัปดาห์ที่ 3 วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 5) |
การเปลี่ยนผ่านการเมืองไทยด้วยสันติวิธี โดย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอนันท์ หัวหน้าสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ชี้แจงการจัดทำเอกสารรายงานเฉพาะบุคคล โดย คณะกรรมการหลักสูตร |
|
การจัดทำรายงานเฉพาะบุคคล เข้าใจหลักการวิจัยเบื้องต้น รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ นักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท นิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
|
สัปดาห์ที่ 4 วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2558 | |
(หัวข้อที่ 6) | ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 |
(หัวข้อที่ 7) |
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูป โดย นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ อดีตรองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อดีตเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูป |
สัปดาห์ที่ 5วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2558 | |
(หัวข้อที่ 8) |
การปฏิรูประบบราชการไทย โดย ศ.พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) |
(หัวข้อที่ 9) |
ดุลอำนาจของ 2 ผู้นำโลกและผลกระทบต่ออาเซียน โดย ผศ.ดร.ปราณี ทิพย์รัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
สัปดาห์ที่ 6 วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2558 | |
ศึกษาดูงานส่วนกลาง
|
|
วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2558 | |
(หัวข้อที่ 10) |
นโยบายการเงินกับทิศทางเศรษฐกิจไทย โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 1 | |
สัปดาห์ที่ 7 วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2558 | |
(หัวข้อที่ 11) |
ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจไทย (นโยบายการคลัง) โดย ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 2 | |
วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2558 | |
งดบรรยาย
|
|
สัปดาห์ที่ 8 วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 12) |
ทางออกจากกับดักเศรษฐกิจไทย โดย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิแอดไวเซอร์ จำกัด นักเศรษฐศาสตร์อิสระและอดีตเศรษฐกรอาวุโส ประจำธนาคารโลก |
(หัวข้อที่ 13) |
ปัญหาเศรษฐกิจไทย : ความเหลื่อมล้ำในสังคม โดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ |
สัปดาห์ที่ 9 วันศุกร์ที่ 18 – วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2558 | |
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1 | |
สัปดาห์ที่ 10 วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2558 | |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 3 | |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 4 | |
วันเสาร์ที่ 2 มกราคม 2559 | |
งดบรรยาย | |
สัปดาห์ที่ 11 วันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2559 | |
(หัวข้อที่14) |
ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น : ผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย โดย นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 5 | |
สัปดาห์ที่ 12 วันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2559 | |
(หัวข้อที่15) |
ทางออกและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดย พลโทปราการ ชลยุทธ รองเสนาธิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย |
(หัวข้อที่ 16) |
ปัญหาการค้ามนุษย์ในภูมิภาคอาเซียน โดย นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด |
สัปดาห์ที่ 13 วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2559 | |
(หัวข้อที่ 17) |
ปัญหาสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดย นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 และอดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและ ครอบครัวกลาง |
(หัวข้อที่ 18) |
การปฏิรูประบบการศึกษาไทย โดย นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) |
สัปดาห์ที่ 14 วันศุกร์ที่ 29 - วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2559 | |
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2
|
|
สัปดาห์ที่ 15 วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 | |
(หัวข้อที่ 19) |
หลักธรรมาภิบาลการบริหาร : องค์กรเอกชน กรณีเครือเอสซีจี โดย นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเอสซีจี |
(หัวข้อที่ 20) | ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 |
สัปดาห์ที่ 16วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 | |
(หัวข้อที่ 21) |
หลักธรรมาภิบาลการบริหาร : การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดย นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง |
(หัวข้อที่ 22) |
หลักธรรมาภิบาลการบริหาร : องค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไร (เอ็นจีโอ) โดย นายศรีสุวรรณ ควรขจร ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) |
สัปดาห์ที่ 17 วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 | |
(หัวข้อที่ 23) | สังเคราะห์หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร |
(หัวข้อที่ 24) |
การปฏิรูประบบประกันสุขภาพ โดย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงสาธารณสุข |
สัปดาห์ที่ 18 วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 | |
(หัวข้อที่ 25) |
วิกฤตความน่าเชื่อถือองค์กรพลังงานไทย โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (1) | |
สัปดาห์ที่ 19 วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559 | |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (2) | |
(หัวข้อที่ 26) |
การบริหารเชิงกลยุทธ์ โดย นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย |
สัปดาห์ที่ 20วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม 2559 | |
(หัวข้อที่ 27) |
ความท้าทายการบริหารสื่อยุคใหม่ โดย นายพิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์ บรรณาธิการอำนวยการบริษัท โพสต์พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) นายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทบางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง (PPTV) |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (3) | |
สัปดาห์ที่ 21วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2559 | |
(หัวข้อที่ 28) | ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 3 |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (4) | |
สัปดาห์ที่ 22วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2559 | |
(หัวข้อที่ 29) |
การปรับโครงสร้าง กสทช. กับอนาคตธุรกิจสื่อ โดย ผศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คณะทำงานติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) |
นำเสนอผลงานรายงานเฉพาะบุคคล (5) | |
สัปดาห์ที่ 23วันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2559 | |
(หัวข้อที่ 30) |
การปฏิรูปสื่อในกรอบรัฐธรรมนูญ โดย รศ.จุมพล รอดคดี อดีตประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและประธานคณะกรรมการสื่อเพื่อการปฏิรูป |
(หัวข้อที่ 31) |
เสรีภาพสื่อไทยในบริบทอาเซียน โดย นายกวี จงกิจถาวร สื่อมวลชนอิสระ |
สัปดาห์ที่ 24 วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2559 | |
การจัดสัมมนาสาธารณะ โดย ผู้เข้าอบรมหลักสูตร (บสส.) รุ่นที่ 6 |