logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
    • ความเป็นมา
    • ผลงานที่ผ่านมา
    • โครงสร้างสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
    • กิจกรรมในยุคแรก
    • กิจกรรมปี 2549
    • กิจกรรมปี 2550
    • กิจกรรมปี 2551
    • กิจกรรมปี 2552
    • กิจกรรมปี 2553
    • กิจกรรมช่วง 2556 - 2560
    • กิจกรรมปี 2561
    • กิจกรรมปี 2562
    • กิจกรรมปี 2563
    • กิจกรรมปี 2564
    • กิจกรรมปี 2565
    • กิจกรรมปี 2566
    • กิจกรรมปี 2567
  • ข่าวสารและการอบรม
    • หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
    • หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.)
    • หลักสูตรพัฒนาผู้ผลิตรายการสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (The Producer)
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ
logo
  • Home
  • หลักสูตรพัฒนาผู้ผลิตรายการสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (The Producer)
  • หลักการและเหตุผล Producer
  • หลักสูตรพัฒนาผู้ผลิตรายการสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (The Producer) รุ่นที่ 1

หลักสูตรพัฒนาผู้ผลิตรายการสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (The Producer) รุ่นที่ 1

  • Share
  • Tweet
  • Share
  • Email
Tags
หลักสูตรผู้ผลิตรายการ รุ่นที่ 1 | หลักสูตรพัฒนาผู้ผลิตรายการสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (The Producer) รุ่นที่ 1 | The Producer รุ่น 1 | บริษัท อิศรา ไทย เพรส เดเวลอปเมนท์ จำกัด | สถาบันอิศรา | สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) | กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ | กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
Created
Wednesday, 09 October 2024

producer name 101166 6

          หัวใจสำคัญของสื่อมวลชนในยุคดิจิทัลคือ การรู้เท่าทันและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การจัดทำหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการให้สอดคล้องและทันกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นับเป็นโอกาสดีขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนมที่เห็นถึงความสำคัญการเสริมสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การเพิ่มพูนทักษะความสามารถให้แก่บุคลากรในวิชาชีพสื่อ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการคิดและวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ตลอดจนการนำเสนอเนื้อหาข่าวสารที่มุ่งหวังเพื่อการเพาะบ่มปลูกฝังเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมด้วย
          หลักสูตรนี้จะช่วยเสริมทักษะให้กับผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นผู้ปฏิบัติงานระดับกลางของแต่ละองค์กร ได้เรียนรู้ทางด้านวิชาการ และวิธีปฏิบัติที่นำสมัย เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงาน รองรับการขยายตัวของกิจการ ให้มีเนื้อหาครอบคลุมทุกมิติของการการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล การวางแผนกลยุทธ์ที่มีความสำคัญในการผลิตรายการมีประสิทธิภาพจนสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ขององค์กร เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน แนวคิด มุมมองระหว่างกัน เป็นช่องทางในการเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำไปปรับใช้เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาชีพของตนเองและประเทศชาติต่อไปได้

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับผู้ประกอบวิชาชีพในแวดวงโทรทัศน์ในยุคที่มีช่องทางการสื่อสาร (Platforms) ที่หลากหลาย และมีข้อมูลเชิงอ่อนไหวจำนวนมาก ให้มีมุมมอง ทัศนคติ การหาประเด็น การบริหารจัดการที่อยู่ในกรอบของมิติดังนี้คือ
           - ด้านสถานการณ์โลก
           - ด้านสถานการณ์ปัจจุบัน
           - ด้านกฎหมาย
           - ด้านการการผลิต
           - ด้านเทคโนโลยี
           - ด้านการสร้างสรรค์
           - ด้านการตลาด
           - ด้านจริยธรรม
        2. เพื่อให้สามารถทำการประสานแนวคิดและประเด็นมุมมองระหว่างผู้ผลิตรายการทั่วไป และรายการข่าว ให้มีวิสัยทัศน์กว้างขึ้น โดยเน้นที่ประโยชน์ของผู้ชมโดยส่วนรวมเป็นหลัก เพื่อติดอาวุธทางความรู้ ทั้งในด้านวิชาชีพ และการบริหารจัดการในองค์กรสื่อให้กับผู้เข้ารับการอบรม
        3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ รวมทั้งวิทยาการความรู้ใหม่ ๆ และจริยธรรมในวิชาชีพสื่อมวลชน ให้แก่บุคลากรในวิชาชีพสื่อมวลชนด้านวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวมทั้งบุคลากรในสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีความรู้ ความเข้าใจและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน
        4. เพื่อสร้างโอกาสให้สื่อมวลชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ในแต่ละด้านจากหลากหลายช่องทาง ทั้งจากวิทยากรผู้บรรยาย และกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมด้วยกันในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย
        1. ตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์บริการธุรกิจ จำนวน 15 คน
        2. ตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์บริการสาธารณะ จำนวน 5 คน
        3. ตัวแทนจากบริษัทผู้ผลิตรายการ จำนวน 15 คน
        4. ตัวแทนจากสมาคมด้านโฆษณาและมีเดียเอเยนซี จำนวน 5 คน
        5. ตัวแทนจากบริษัทเอกชนขนาดใหญ่-กลาง จำนวน 5 คน
        6. นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน จำนวน 5 คน
        7. ตัวแทน กสทช. สคบ. อย. กองทุนสื่อ NGO ฯลฯ จํานวน 5 คน

          *หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมอบรมด้านสื่อมวลชน ต้องมีอายุ 30 – 40 ปี หรือมีประสบการณ์ด้านการผลิตรายการอย่างน้อย 5 ปี ส่วนผู้เข้าอบรมประเภทอื่นๆ ต้องมีอายุ 35 – 45 ปี

ค่าใช้จ่ายในการอบรม
        ผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

วิธีดำเนินการอบรม
        การอบรมหลักสูตรนี้มีวิธีการศึกษาดังนี้
        1. การบรรยายและอภิปราย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคดิจิทัล และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามเนื้อหาวิชาและหัวข้อที่กำหนด โดยเชิญวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจากหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรการอบรมยังได้กำหนดให้มีการเปิดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นระหว่างกัน
        2. การสัมมนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้กำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจหรือเป็นข้อถกเถียงของสังคม เป็นการจัดเวทีเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน
        3. การจัดทำโครงงานกลุ่ม (6 กลุ่ม) มีการแบ่งกลุ่มผู้เข้าอบรมออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมแต่ละกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์เพื่อกำหนดรูปแบบของการผลิตรายการและจัดทำตัวอย่างรายการ
        4. การศึกษาดูงาน แบ่งเป็นการศึกษาดูงานในองค์กรด้านสื่อหรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับสื่อ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาดูงานในส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ 1 ครั้ง และการศึกษาดูงานในส่วนภูมิภาค 1 ครั้ง ซึ่งผู้เข้าอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการศึกษาดูงานอย่างเหมาะสม

ระยะเวลาและขอบเขตของการอบรม
          การอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้ผลิตรายการสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (The Producer) รุ่นที่ 1 ในครั้งนี้ กำหนดระยะเวลาในการอบรมรวม 4 เดือน หรือประมาณ 16 สัปดาห์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ - กรุงเทพฯ ถนนรัชดาภิเษก แบ่งเป็น 2 ภาค ดังนี้
          1. ภาควิชาการ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมในชั้นเรียนทุกวันเสาร์ รูปแบบการบรรยาย การอภิปรายและการสัมมนา โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการอบรมสามารถร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ตามหัวข้อที่กำหนด ประกอบด้วย
การบรรยายและอภิปราย 36 ชั่วโมง
          การสัมมนา 24 ชั่วโมง
          - การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน 18 ชั่วโมง
          - การนำเสนอโครงงานกลุ่ม 6 ชั่วโมง
          การจัดทำโครงงานกลุ่ม 12 ชั่วโมง
          การศึกษาดูงาน 2 ครั้ง 24 ชั่วโมง
           - ส่วนกลาง (1 ครั้ง) 6 ชั่วโมง
           - ส่วนภูมิภาค (1 ครั้ง) 18 ชั่วโมง
           2. ภาคปฏิบัติ การจัดทำผลงานกลุ่มในรูปแบบการผลิตรายการเสมือนจริง ผู้เข้ารับการอบรมต้องกำหนดรูปแบบการผลิตรายการและจัดทำตัวอย่างรายการ เพื่อนำเสนอผลงานกลุ่มละ 30 นาที โดยคณะกรรมการหลักสูตรและกรรมการร่วมในการวิพากษ์ และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินการผ่านการอบรมในหลักสูตร

เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม
          การเข้าร่วมอบรมในหลักสูตร The Producer รุ่นที่ 1 กำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการอบรมไว้ดังต่อไปนี้
          1. ต้องมีเวลาเข้าฟังและเสนอความคิดเห็นในห้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด
          2. มีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดหลักสูตร โดยต้องเข้าร่วมในกิจกรรมการศึกษาดูงาน การจัดสัมมนากลุ่มย่อยและการจัดสัมมนาสาธารณะเพื่อนำเสนอผลงานโครงงานกลุ่ม
          3. การจัดทำผลงานกลุ่ม

องค์ประกอบหลักสูตร
          แบ่งออกได้เป็น 4 หมวดวิชา จำนวน 36 ชั่วโมง ประกอบด้วย
          1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
          2. ความรู้เรื่องภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไปและช่องทางการสื่อสารใหม่ ๆ
          3. ความรู้และทักษะด้านการทำตลาดจากเนื้อหาในยุคดิจิทัล
          4. ความรู้และทักษะด้านการผลิตรายการในหลากหลายช่องทางการสื่อสาร (Platforms)

          หมวดวิชาที่ 1 ว่าด้วยความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จำนวน 15 ชั่วโมง
        - สถานการณ์การเมืองโลกที่มีผลกระทบต่อการเมืองไทย
        - สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
        - ปัญหาสิทธิมนุษยชนกับความเท่าเทียม

          หมวดวิชาที่ 2 ว่าด้วยความรู้เรื่องภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไปและช่องทางการสื่อสารใหม่ ๆ จำนวน 6 ชั่วโมง
        - ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไปกับโอกาสของรายการโทรทัศน์
        - พฤติกรรมผู้บริโภคสื่อที่เปลี่ยนแปลงไปและการวิเคราะห์ข้อมูลเรตติ้งเพื่อการผลิตรายการ

          หมวดวิชาที่ 3 ว่าด้วยความรู้และทักษะด้านการทำตลาดจากเนื้อหาในยุคดิจิทัล จำนวน 6 ชั่วโมง
        - ความสำคัญของ Storytelling กับการผลิตรายการ
        - Content Marketing เพื่อการผลิตรายการ
        - การสร้าง Branding รายการ

          หมวดวิชาที่ 4 ความรู้และทักษะด้านการผลิตรายการในหลากหลายช่องทางการสื่อสาร จำนวน 9 ชั่วโมง
        - กระบวนการเตรียมการด้านเทคนิคการผลิตรายการ
        - การกำหนดประเด็น และการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการผลิตรายการ
        - เทคนิคการผลิตรายการในแพลตฟอร์มที่หลากหลาย
        - ภาวะผู้นำสำหรับผู้ผลิตรายการ

The Producer course Page 1

The Producer course Page 2

The Producer course Page 3

The Producer course Page 4

The Producer course Page 5

The Producer course Page 6

หลักสูตรพัฒนาผู้ผลิตรายการสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (The Producer)

  • หลักการและเหตุผล Producer
  • คณะกรรมการหลักสูตร Producer
  • รายชื่อผู้อบรม Producer
  • ดาวน์โหลดเอกสาร Producer
  • โครงงานกลุ่ม Producer
  • ข่าวสารและการอบรม Producer
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
  • ข่าวสารและการอบรม
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ

ISRA Institute Thai Press Development Foundation
สำนักงาน : เลขที่ 538/1 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
Copyright (C) 2015  www.isra.or.th  All rights reserved.
telephone 0-2241-3905  fax  0-2241-3906

Implemented Website by ColorPack Creations Co., Ltd.
GO TO TOP
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถาบัน
    • ความเป็นมา
    • ผลงานที่ผ่านมา
    • โครงสร้างสถาบัน
  • กิจกรรมสถาบัน
    • กิจกรรมในยุคแรก
    • กิจกรรมปี 2549
    • กิจกรรมปี 2550
    • กิจกรรมปี 2551
    • กิจกรรมปี 2552
    • กิจกรรมปี 2553
    • กิจกรรมช่วง 2556 - 2560
    • กิจกรรมปี 2561
    • กิจกรรมปี 2562
    • กิจกรรมปี 2563
    • กิจกรรมปี 2564
    • กิจกรรมปี 2565
    • กิจกรรมปี 2566
    • กิจกรรมปี 2567
  • ข่าวสารและการอบรม
    • หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)
    • หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.)
    • หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.)
    • หลักสูตรพัฒนาผู้ผลิตรายการสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (The Producer)
  • ข่าวเผยแพร่
  • คลังรูปภาพ
  • ดาวน์โหลด
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ติดต่อ