- Home
- หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)
- หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.) รุ่นที่ 5
หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.) รุ่นที่ 5
หลักการและเหตุผล
ในสถานการณ์ที่ประเทศชาติกำลังต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่เต็มไปด้วยปัญหาและความเห็นที่แตกต่าง สื่อมวลชนจึงเป็นความหวังหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อช่วยบรรเทาและเยียวยาความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมได้ ในขณะเดียวกันสื่อมวลชน ก็อาจถูกตั้งคำถามถึงบทบาทและการทำหน้าที่ด้วยเช่นกัน เพราะสื่อคือตัวกลางในการสร้างความรับรู้ ที่ถูกต้องให้กับประชาชน สื่อจึงต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างประชาชนกับฐานอำนาจของกลุ่มการเมือง
สถานการณ์การคุกคามสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยเริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีทั้งรูปแบบและวิธีการใหม่ ๆ ที่มีความทันสมัยและแยบยลจนยากที่จะแยกได้ว่า นั่นคือการแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อ ความพยายามของกลุ่มทุนที่แอบแฝงเข้ามาอยู่ในกลุ่มธุรกิจการเมือง การใช้กลยุทธ์และหลักการตลาดเข้ามาช่วยในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ชูนโยบายใหม่ ๆ เพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นกับกลุ่มของตัวเอง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั้งสิ้น
นับเป็นโอกาสอันดี ที่องค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องการปฏิรูปสื่อ โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ถือว่าเป็นการช่วยสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นในการช่วยพัฒนาระบบการเข้าถึงและการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้าง ธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นและช่วยสร้างศักยภาพของสื่อภาคประชาชน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมกับสื่อมวลชน
ดังนั้น สถาบันอิศรา จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมระยะยาวให้กับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสาร มวลชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการ องค์กรเอกชนที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร และองค์กรของรัฐ ภายใต้หลักสูตรที่ชื่อว่า “หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)” รุ่นที่ 5 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานจากองค์กรสื่อ นักวิชาการ ภาคเอกชนและภาคราชการได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดหาแนวทางกับนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดแนวคิด สร้างทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ และยังสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของตนเองและประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.) บรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้อง
3. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ
4. เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชน นักวิชาการและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการอบในหลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)ตามโครงการนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่มีอายุการทำงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 30 ปี จากสื่อประเภทหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์จากส่วนกลางและท้องถิ่น รวมทั้งสื่อออนไลน์ต่าง ๆ จำนวน 30 คน
2. นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน มีอายุงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป และมีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปี จำนวน 5 คน
3. ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีอายุงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป และมีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปี จำนวน 5 คน
4. ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระหรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ที่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 35 ปี จำนวน 5 คน
5. พนักงานองค์กรเอกชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ ที่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 35 ปี จำนวน 5 คน
ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมและการอบรมตลอดหลักสูตร
จำนวนผู้เข้าอบรม
รวมทั้งสิ้น 50 คน
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
วิธีดำเนินการอบรม
การอบรมหลักสูตรนี้ มีวิธีการศึกษาดังนี้
1. การบรรยายและอภิปราย เพื่อช่วยสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา สิทธิมนุษยชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นไปตามเนื้อหาวิชาและหัวข้อ ที่สถาบันกำหนด โดยเชิญวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่าง ๆ
2. การสัมมนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการจัดสัมมนาหรือเสวนากลุ่มย่อย ในชั้นเรียน และส่วนที่ 2 เป็นการจัดสัมมนาสาธารณะของผู้เข้าอบรมในหลักสูตรนี้
2.1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความเห็นต่อประเด็นปัญหาที่กำหนดและให้แสดงทัศนะของตนต่อปัญหาดังกล่าว โดยให้กล่าวถึงสภาพปัญหา สาเหตุและแนวทางในการแก้ไข
2.2. แบ่งผู้เข้ารับการอบรม ออกเป็น 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการจัดสัมมนาหรือเสวนาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีผลกระทบต่อสื่อมวลชน ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่ได้รับความสนใจและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และนำเสนอผลงานในรูปแบบของรายงานกลุ่ม และนำเสนอผลที่ได้ในชั้นเรียนตามวันเวลาที่กำหนดในหลักสูตร โดยในการจัดสัมมนาดังกล่าว ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเชิญวิทยากรจากภายนอกที่ไม่ซ้ำกับวิทยากรในหลักสูตรได้ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน
2.3. ผู้เข้าอบรมหลักสูตร กสต. รุ่นที่ 5 จะต้องร่วมกันจัดสัมมนาสาธารณะภายหลังจากสิ้นสุด การอบรม ในวันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2558 โดยกำหนดหัวข้อเกี่ยวกับประเด็นปัญหาการเมือง เศรษฐศาสตร์ สังคมหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือประเด็นปัญหาที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในกระแสความสนใจของสังคม
3. การศึกษาดูงานและการลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้
3.1. การศึกษาดูงานในเขตกรุงเทพมหานคร โดยจะเป็นการศึกษาดูงานองค์กร ด้านสื่อ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์
3.2. การศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค โดยการลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติ เป็นการแบ่งกลุ่มในการทำกิจกรรมและผลิตผลงาน (วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม – วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2558 สถานที่จะแจ้งอีกครั้ง ) แต่ละกลุ่มจะต้องปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อกำหนดประเด็นข่าวที่จะลงพื้นที่ตามที่กำหนด โดยแต่ละกลุ่มจะต้องผลิต ผลงาน 2 ชิ้น ประกอบด้วย 1. ข่าว จำนวน 1 ชิ้น 2. สกู๊ปหรือรายงานพิเศษ จำนวน 1 ชิ้น สำหรับผลงานที่ผลิตกำหนดให้ต้องประกอบด้วยคลิปวิดีโอ 1 ชิ้น และผลงานการเขียน 1 ชิ้น ซึ่งแต่ละกลุ่มจะกำหนดเองว่า ข่าวและสกู๊ปหรือรายงานพิเศษ ชิ้นใดจะทำเป็นคลิป และชิ้นใดนำเสนอในรูปแบบการเขียนพร้อมภาพประกอบ
ระยะเวลาและขอบเขตของการอบรม
การอบรมหลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.) รุ่นที่ 5 ในครั้งนี้ มีระยะเวลาการอบรมรวม4 เดือนหรือประมาณ 17 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม - วันที่ 12 กันยายน 2558 (ทุกวันเสาร์) ระหว่างเวลา 09.00 - 16.00 น. ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน ระยะเวลา ในการอบรมรวมประมาณ 108 ชั่วโมง รายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ภาควิชาการ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมทุกวันเสาร์ เป็นเวลา 17 สัปดาห์ การอบรมจะแบ่งเป็นรูปแบบของการบรรยาย อภิปราย โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการอบรมร่วมแสดง ความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ตามหัวข้อที่กำหนด ประกอบด้วย
1.1. การบรรยายและอภิปราย 66 ชั่วโมง
1.2. การสัมมนาและนำเสนอผลงาน 18 ชั่วโมง
1.3. การศึกษาดูงานและการลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติ 24 ชั่วโมง
2. ภาคการจัดทำรายงานกลุ่ม ผู้เข้าอบรมทั้ง 5 กลุ่ม จะต้องจัดทำรายงานสรุปรายละเอียดเนื้อหาจากการจัดสัมมนาหรือเสวนาของแต่ละกลุ่ม โดยจัดทำรายงานพร้อมสรุปประโยชน์ที่ได้รับเพื่อประโยชน์ ในการเผยแพร่สู่สาธารณะ
เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม
ในการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.) รุ่นที่ 5 ได้กำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการอบรมไว้ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีเวลาเข้าฟังและเสนอความคิดเห็นในห้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด
2. มีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดหลักสูตร
3. จัดทำรายงานเฉพาะกลุ่มและส่งตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
การอบรมครั้งนี้ แบ่งออกได้เป็น 4 หมวดวิชา ดังนี้
1. การเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ชั่วโมง
2. เศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 15 ชั่วโมง
3. สังคม สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน จำนวน 18 ชั่วโมง
4. ความรู้เกี่ยวกับสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพ จำนวน 15 ชั่วโมง
5. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ จำนวน 6 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 1 ว่าด้วยการเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย
1.1. รัฐธรรมนูญ 2558 กับการปฏิรูปการเมือง จำนวน 3 ชั่วโมง
1.2. สถานการณ์การเมืองไทย 2558 จำนวน 3 ชั่วโมง
1.3. ภูมิศาสตร์การเมืองโลก : การเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจกับความมั่นคงโลก จำนวน 3 ชั่วโมง
1.4. ทักษะและเทคนิคข้อควรรู้ในการรายงานข่าวอาชญากรรม จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 2 ว่าด้วยเศรษฐศาสตร์และทิศทางเศรษฐกิจ จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
2.1. สถานการณ์เศรษฐกิจไทย – เศรษฐกิจโลก จำนวน 3 ชั่วโมง
2.2. ทิศทางการพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล จำนวน 3 ชั่วโมง
2.3. การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 ชั่วโมง
2.4. เศรษฐศาสตร์ภาครัฐ : แนวทางใหม่ในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ จำนวน 3 ชั่วโมง
2.5. การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 3 ว่าด้วยปัญหาสังคม สาธารณสุข การศึกษา สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน จำนวน 18 ชั่วโมง ประกอบด้วย
3.1. รู้เท่าทันการคอรัปชั่นในสังคมไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
3.2. การปฏิรูปการศึกษาไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
3.3. ระบบหลักประกันสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมง
3.4. ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3 ชั่วโมง
3.5. การปฏิรูปพลังงานไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
3.6. ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 4 ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับสื่อมวลชนและจริยธรรมวิชาชีพ จำนวน 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
4.1. เทคนิคการทำข่าวสืบสวนอย่างมืออาชีพ (ข่าวเจาะ) จำนวน 3 ชั่วโมง
4.2. การปรับตัวของสื่อในยุคดิจิทัล จำนวน 3 ชั่วโมง
4.3. สื่อมวลชนกับการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง จำนวน 3 ชั่วโมง
4.4. จริยธรรมสื่อมวลชน จำนวน 3 ชั่วโมง
4.5. กฎหมายเกี่ยวกับสื่อที่ควรรู้ กรณีสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 5 ว่าด้วยประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ จำนวน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย
5.1. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง
5.2. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 จำนวน 3 ชั่วโมง
ตารางการอบรมหลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.) รุ่นที่ 5
ระยะเวลาการอบรม 17 สัปดาห์ ( 4 เดือน)
ระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม – 12 กันยายน 2558
วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2558 | |
ปฐมนิเทศผู้เข้าอบรมหลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.) รุ่นที่ 5 ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย |
|
วันเสาร์ที่ 16 – อาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2558 | |
สัมมนาเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการอบรมหลักสูตร (กสต.) รุ่นที่ 5 ณ โรงแรมทวาราวดี รีสอร์ท จังหวัดปราจีนบุรี |
|
สัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 1) |
ภูมิศาสตร์การเมืองโลก : การเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจกับความมั่นคงโลก โดย ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
(หัวข้อที่ 2) |
รัฐธรรมนูญ 2558 กับการปฏิรูปการเมือง โดย ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณบดี คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
สัปดาห์ที่ 2 วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 3) |
สถานการณ์เศรษฐกิจไทย - เศรษฐกิจโลก โดย ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) |
(หัวข้อที่ 4) |
ทักษะและเทคนิคข้อควรรู้ในการรายงานข่าวอาชญากรรม โดย พันโท นายแพทย์เอนก ยมจินดา ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม |
สัปดาห์ที่ 3 วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2558 | |
(หัวข้อที่ 5) |
สถานการณ์การเมืองไทย 2558 โดย ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
(หัวข้อที่ 6) |
ทิศทางการพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) |
สัปดาห์ที่ 4 วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน 2558 | |
(หัวข้อที่ 7) |
รู้เท่าทันการคอรัปชั่นในสังคมไทย โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย |
(หัวข้อที่ 8) |
ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อตามแนวทาง (ร่าง) รธน.” โดย รศ.จุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ |
สัปดาห์ที่ 5 วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2558 | |
ศึกษาดูงานส่วนกลาง ครั้งที่ 1 ณ โรงพิมพ์ธนบัตร อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
|
วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2558 | |
(หัวข้อที่ 9) |
การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดย ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 1 หัวข้อ “1 ปีทีวีดิจิทัล : อยู่ต่อไปอย่างไรให้รอด” |
|
สัปดาห์ที่ 6 วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2558 | |
(หัวข้อที่ 10) |
การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ โดย ดร.วิรไท สันติประภพ คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (ซุปเปอร์บอร์ด) ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) |
(หัวข้อที่ 11) |
การปฏิรูปการศึกษาไทย โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ ประธานมูลนิธิ สถาบันวิจัยระบบการศึกษา |
สัปดาห์ที่ 7 วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2558 | |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 2 หัวข้อ สื่อ (ลวง) ...ยุคโซเชียล?ความรวดเร็ว...คุณค่า...ความถูกต้อง |
|
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 3 หัวข้อ “ตรงกลาง” ที่ต่างกันของ “คนข่าว&พีอาร์” ในยุคการตลาดครอบงำ |
|
สัปดาห์ที่ 8 วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 12) |
เศรษฐศาสตร์ภาครัฐ : แนวทางใหม่ในการการบริหารจัดการเศรษฐกิจ โดย ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
(หัวข้อที่ 13) |
เทคนิคการทำข่าวสืบสวนอย่างมืออาชีพ (ข่าวเจาะ) โดย นายประสงค์ เลิศรัตน์วิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา |
สัปดาห์ที่ 9 วันศุกร์ที่ 17 – อาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2558 | |
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดจันทบุรี – ชลบุรี |
|
สัปดาห์ที่ 10 วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 14) |
ระบบหลักประกันสุขภาพ โดย ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และรองเลขาธิการ แพทยสภา |
(หัวข้อที่ 15) |
กฎหมายเกี่ยวกับสื่อที่ควรรู้ กรณีสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต โดย นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษา สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย |
สัปดาห์ที่ 11 วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม 2558 | |
งดบรรยาย |
|
สัปดาห์ที่ 12 วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 16) |
ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 หัวข้อ “ปัญหา-ทางออก : วิกฤติภัยแล้ง-น้ำท่วม” โดย ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 4 "ทบทวนพัฒนาการ การทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนในประเทศไทย" |
|
สัปดาห์ที่ 13 วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 17) |
ปฏิรูปพลังงานไทย โดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน ดร.เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
สัมมนาวิชาการกลุ่มที่ 5 ผลกระทบของละครต่อเยาวชน กรณีศึกษา “ซีรี่ Lovesick” |
|
สัปดาห์ที่ 14 วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 18) |
ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย โดย นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน |
(หัวข้อที่ 19) |
การปรับตัวของสื่อในยุคดิจิทัล โดย นางสาววาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา ผู้อำนวยการฝ่ายรายการข่าว สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี |
สัปดาห์ที่ 15 วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2558 | |
(หัวข้อที่ 20) |
สื่อมวลชนกับการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง โดย นายมานพ ทิพย์โอสถ อุปนายกฝ่ายสิทธิและเสรีภาพฯ สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทย และผู้สื่อข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ นางสาวขนิษฐา เทพจร ผู้สื่อข่าวการเมือง สำนักข่าวเนชั่น |
นำเสนอผลงานจากการสัมมนากลุ่มที่ 1 – 5 | |
สัปดาห์ที่ 16 วันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2558 | |
(หัวข้อที่ 21) |
จริยธรรมสื่อมวลชน โดย นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ |
(หัวข้อที่ 22) |
ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) |
สัปดาห์ที่ 17 วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2558 | |
สัมมนาสาธารณะ หัวข้อ “พลเมืองร่วมปฏิรูปประเทศ” ณ ห้องประชุม อิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน โดย ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร (กสต.) รุ่นที่ 5 |