- Home
- หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.)
- หลักการและเหตุผล
- หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูง ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.) รุ่นที่ 1
หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูง ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.) รุ่นที่ 1
หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูง
ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.) รุ่นที่ 1
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.) รุ่นที่ 1 บรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อเปิดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม ในหัวข้อทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคดิจิทัล สิ่งแวดล้อมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน
3. เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสื่อและผู้เกี่ยวข้องระดมความเห็นเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงสร้าง การบริหารจัดการ รูปแบบและการกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนในอนาคต
4. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน
5. เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับนักวิชาการและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.) รุ่นที่ 1 ในโครงการนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้บริหารระดับสูงจากสื่อมวลชน วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่เป็นผู้บริหารองค์กร ตั้งแต่ระดับบรรณาธิการข่าวขึ้นไป และที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 25 คน
2. นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ตั้งแต่ระดับคณบดีหรือหัวหน้าภาควิชา มีอายุการทำงานทางวิชาการ ไม่น้อยกว่า 15 ปี และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
3. ผู้บริหารองค์กรระดับสูงองค์กรพัฒนาเอกชน ตั้งแต่ระดับผู้จัดการ และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
4. ผู้บริหารระดับสูงองค์กรของรัฐ ส่วนราชการ ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่าย และมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
5. ผู้บริหารองค์กรเอกชน ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่ายที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน
6. ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตร
7. ผู้เข้ารับการอบรมต้องเคยสำเร็จการอบรมในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงฯ ที่จัดโดย สถาบันอิศรามาก่อน หรือผู้บริหารระดับสูงสุดในสายงานด้านสื่อสารมวลชนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จำนวนผู้เข้าอบรม
รวมทั้งสิ้น 45 คน ซึ่งเป็นจำนวนผู้เข้าอบรมที่มีความเหมาะสม ทำให้ผู้เข้าอบรมทั้งหมดสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างทั่วถึง และสะดวกในการจัดทำกิจกรรมกลุ่มในระหว่างการอบรมด้วย ส่วนการกำหนดสัดส่วนผู้เข้าอบรมแต่ละกลุ่มวิชาชีพสามารถที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
วิธีดำเนินการอบรม
การอบรมหลักสูตรนี้มีวิธีการศึกษาดังนี้
1. การบรรยายและอภิปราย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคดิจิทัล และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามเนื้อหาวิชาและหัวข้อที่กำหนด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจากหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรการอบรมยังได้กำหนดให้มีการเปิดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นระหว่างกัน
2. การสัมมนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้กำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจหรือเป็นข้อถกเถียงของสังคม เป็นการจัดเวทีเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน และนำเสนอความคิดเห็นสู่สาธารณะ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน และการจัดสัมมนาสาธารณะซึ่งเป็นผลงานของผู้เข้าอบรม โดยเปิดโอกาสให้เชิญบุคคลภายนอก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดเห็น ข้อเท็จจริง เพื่อนำไปสู่การเสนอทางออก แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป
2.1. ผู้เข้าอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำสัมมนาทั้ง 2 ส่วน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมในหลักสูตรนี้
2.2. มีการแบ่งผู้เข้าอบรม ออกเป็น 8 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการจัดสัมมนาหรือเสวนา เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
2.3. ผู้เข้าอบรมในหลักสูตรนี้ จะต้องร่วมกันรับผิดชอบในการจัดสัมมนาสาธารณะเพื่อนำเสนอผลงานโครงงานกลุ่ม
3. การจัดทำโครงงานกลุ่ม (8 กลุ่ม) เพื่อสร้างรูปแบบการสื่อสารมวลชนในอนาคต เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลของการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรนี้ ดังนั้นผู้เข้าอบรมทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำรายกลุ่มดังกล่าว โดยมีหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และต้องนำเสนอโดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักสูตร ก่อนสิ้นสุดการอบรม
4. การศึกษาดูงาน แบ่งเป็นการศึกษาดูงานในองค์กรด้านสื่อหรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับสื่อ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาดูงานในส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ 2 ครั้ง (1 วัน) การศึกษาดูงานในส่วนภูมิภาค 2 ครั้ง (2 วัน และ 4 วัน) ซึ่งผู้เข้าอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการศึกษาดูงานอย่างเหมาะสม
ระยะเวลาและขอบเขตของการอบรม
การอบรมหลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.) รุ่นที่ 1 ในครั้งนี้ กำหนดระยะเวลาในการอบรมรวม 5 เดือน หรือประมาณ 21 สัปดาห์ การอบรมจัดขึ้นทุกวันเสาร์เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน ระยะเวลาอบรมรวม 132 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ภาค ดังนี้
1. ภาควิชาการ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมในชั้นเรียนทุกวันเสาร์ ซึ่งการอบรมจะเป็นรูปแบบของการบรรยาย การอภิปรายและการสัมมนา โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้ารับการอบรมสามารถร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ตามหัวข้อที่กำหนด ประกอบด้วย
1.1. การบรรยายและอภิปราย 30 ชั่วโมง
1.2. การสัมมนา 30 ชั่วโมง
การสัมมนากลุ่มย่อยในชั้นเรียน 24 ชั่วโมง
การนำเสนอโครงงานกลุ่ม 6 ชั่วโมง
1.3. การจัดทำโครงงานกลุ่ม 24 ชั่วโมง
1.4. การศึกษาดูงาน 4 ครั้ง 48 ชั่วโมง
ส่วนกลาง (2 ครั้ง) 12 ชั่วโมง
ส่วนภูมิภาค (2 ครั้ง) 36 ชั่วโมง
ภาพรวมการแบ่งสัดส่วนแต่ละกลุ่มของการอบรมในหลักสูตรนี้ ประกอบด้วย การบรรยายและอภิปราย คิดเป็นร้อยละ 22.72 การสัมมนา ร้อยละ 22.72 การจัดทำโครงงานกลุ่ม ร้อยละ 18.18 การศึกษาดูงาน ร้อยละ 36.36
2. ภาคการจัดทำโครงงานกลุ่ม ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำโครงงานกลุ่ม เพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและคณะกรรมการหลักสูตร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
2.1. การนำเสนอหัวข้อและเค้าโครง
2.2. การปรึกษาคณะกรรมการหลักสูตร
2.3. การนำเสนอผลงานโครงงานกลุ่ม ต่อคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมอบรม กลุ่มละ 45 นาที (นำเสนอ 30 นาที อภิปรายและซักถาม 15 นาที) โดยมีคณะ
กรรมการหลักสูตรร่วมวิพากษ์และผู้เข้าอบรมร่วมเสนอแนะ ก่อนการจัดทำเอกสารรายงานกลุ่มฉบับสมบูรณ์
เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม
ในการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตร (บยสส.) รุ่นที่ 1 กำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการอบรมไว้ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีเวลาเข้าฟังและเสนอความคิดเห็นในห้องเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของเวลาเรียนทั้งหมด
2. มีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดหลักสูตร และต้องเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาดูงาน การจัดสัมมนากลุ่มย่อยและการจัดสัมมนาสาธารณะเพื่อนำเสนอผลงานโครง
งานกลุ่ม
3. จัดทำเอกสารโครงงานกลุ่มและส่งตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร
4. จัดทำโครงงานและนำเสนอผลงานโครงงานกลุ่ม หรืองานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลา และจะต้องส่งฉบับสมบูรณ์เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรในการพิจารณาจบหลักสูตร
5. ผู้เข้าอบรมที่ได้รับการพิจารณาได้รับโล่ผู้เข้าอบรมดีเด่น จะต้องเป็นผู้ที่เข้ารับการอบรมทุกกิจกรรมตลอดหลักสูตรนับตั้งแต่วันปฐมนิเทศ และต้องอยู่ร่วมการอบรมครบในทุกช่วงเวลา เช่น รับฟังการบรรยายตั้งแต่ 09.00 – 16.00 น. หรือจน กว่าการบรรยายจะสิ้นสุดลง (ไม่นับรวมผู้ที่เซ็นชื่อเข้าอบรมหลังเวลา 09.00 น. หรือออกก่อนเวลา 16.00 น. หรือไม่ได้เข้าฟังการบรรยายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง) และจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมในการศึกษาดูงานทุกภารกิจ ซึ่งเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร หรือตารางการศึกษาดูงาน
องค์ประกอบของหลักสูตร
แบ่งออกได้เป็น 5 หมวดวิชา จำนวน 30 ชั่วโมง ประกอบด้วย
1. การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโลก จำนวน 6 ชั่วโมง
2. การเมือง เศรษฐกิจ สังคมประเทศไทย จำนวน 6 ชั่วโมง
3. สังคมและสิทธิมนุษยชน จำนวน 6 ชั่วโมง
4. เทคโนโลยีการสื่อสารและกฎหมาย - จริยธรรมสื่อ จำนวน 6 ชั่วโมง
5. วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน จำนวน 6 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 1 ว่าด้วยการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโลก จำนวน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย
1.1. ระเบียบโลกใหม่หลังโควิด 19 จำนวน 3 ชั่วโมง
1.2. เศรษฐกิจโลกยุคหลังโควิด 19 จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 2 ว่าด้วยการเมือง เศรษฐกิจ สังคมประเทศไทย จำนวน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย
2.1. การเมืองภาคประชาชนในสังคมไทย มองอดีตวิเคราะห์ปัจจุบัน จำนวน 3 ชั่วโมง
2.2. เศรษฐกิจไทย ก้าวให้ข้ามผ่านวิกฤต จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 3 ว่าด้วยสังคมและสิทธิมนุษยชน จำนวน 6 ชั่วโมง
3.1. วิกฤตศรัทธาในกระบวนการยุติธรรมไทย จำนวน 3 ชั่วโมง
3.2. การกระจายอำนาจ ความเหลื่อมล้ำและความยั่งยืน จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 4 ว่าด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและกฎหมาย – จริยธรรมสื่อ จำนวน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย
4.1. โลกใหม่ของการเรียนรู้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 3 ชั่วโมง
4.2. เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อในภูมิทัศน์ใหม่ จำนวน 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 5 ว่าด้วยประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ จำนวน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย
5.1. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง
5.2. ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 2 จำนวน 3 ชั่วโมง
กำหนดการอบรมหลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูง
ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บยสส.) รุ่นที่ 1
ระยะเวลาการอบรม 5 เดือน หรือประมาณ 21 สัปดาห์ (132 ชั่วโมง)
ระหว่างวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2563 – วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2564
สัปดาห์ที่ 1 เตรียมตัว วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2563
การปฐมนิเทศ ผู้เข้าอบรมหลักสูตร (บยสส.) รุ่นที่ 1
ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน กรุงเทพฯ
สัปดาห์ที่ 2 เตรียมตัว วันเสาร์ที่ 10 – วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม 2563
การสัมมนาเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการอบรม (บยสส.) รุ่นที่ 1
ณ โรงแรมคลาสสิค คามิโอ จ.พระนครศรีอยุธยา
สัปดาห์ที่ 3 วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2563
(หัวข้อที่ 1) โลกใหม่ของการเรียนรู้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
(หัวข้อที่ 2) ระเบียบโลกใหม่หลังโควิด 19
โดย ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2563
งดบรรยาย หยุดต่อเนื่องวันปิยมหาราช
สัปดาห์ที่ 4 วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2563
ศึกษาดูงานส่วนกลาง ครั้งที่ 1 (1 วัน) (วันศุกร์)
ณ บริษัท ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารซีพีเอฟ จำกัด – สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี – The Standard
สัปดาห์ที่ 5 วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2563
นำเสนอโจทย์ในการทำโครงงานกลุ่ม (1)
โดย นางสาวเมษ์ ศรีพัฒนาสกุล CEO & Co-founder, LUKKID Asian Leadership Academy
Workshop 1
สัปดาห์ที่ 6 วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2563
(หัวข้อที่ 3) เศรษฐกิจโลกยุคหลังโควิด 19
โดย ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และรองหัวหน้าสายงายวิจัย
บริษัท หลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
(หัวข้อที่ 4) การเมืองภาคประชาชนในสังคมไทย มองอดีตวิเคราะห์ปัจจุบัน
โดย ผศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สัปดาห์ที่ 7 วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563
นำเสนอโจทย์ในการทำโครงงานกลุ่ม (2)
โดย นางสาวเมษ์ ศรีพัฒนาสกุล CEO & Co-founder, LUKKID Asian Leadership Academy
Workshop 2
สัปดาห์ที่ 8 วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2563
(หัวข้อที่ 5) วิกฤตศรัทธาในกระบวนการยุติธรรมไทย
โดย ศ.กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย
(หัวข้อที่ 6) ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ ครั้งที่ 1
“การแสวงหาข้อเท็จจริงในวิกฤติของประเทศไทย”
โดย นายณัฐกร ปลอดดี บรรณาธิการ Fact-Check สำนักข่าวเอเอฟพี (ประเทศไทย)
สัปดาห์ที่ 9 วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2563
นำเสนอโจทย์ในการทำโครงงานกลุ่ม (3)
โดย นางสาวเมษ์ ศรีพัฒนาสกุล CEO & Co-founder, LUKKID Asian Leadership Academy
Workshop 3
วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2563
งดบรรยาย หยุดต่อเนื่องวันพ่อแห่งชาติ
วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2563
งดบรรยาย หยุดต่อเนื่องวันรัฐธรรมนูญ
สัปดาห์ที่ 10 วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563
การจัดทำโครงงานกลุ่ม (4) โดย ทีมที่ปรึกษา
Workshop 4
สัปดาห์ที่ 11 วันศุกร์ที่ 25 – วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2563
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1 (2 วัน) (วันศุกร์ – วันเสาร์)
ณ จังหวัดชลบุรี – จังหวัดระยอง
วันเสาร์ที่ 2 มกราคม 2564
งดบรรยาย หยุดต่อเนื่องวันขึ้นปีใหม่
สัปดาห์ที่ 12 วันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2564
(หัวข้อที่ 7) การกระจายอำนาจ ความเหลื่อมล้ำและความยั่งยืน
โดย ดร.เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(หัวข้อที่ 8) เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อในภูมิทัศน์ใหม่
โดย นายกวี จงกิจถาวร สื่อมวลชนอิสระ
สัปดาห์ที่ 13 วันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2564
ศึกษาดูงานส่วนกลาง ครั้งที่ 2 (1 วัน) (วันศุกร์)
ณ สถาบันพัฒนาศักยภาพธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก – Acts Studio – บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด (สำนักงานใหญ่)
สัปดาห์ที่ 14 วันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2564
(หัวข้อที่ 9) เศรษฐกิจไทย ก้าวให้ข้ามผ่านวิกฤต
โดย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(หัวข้อที่ 10) ประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์ครั้งที่ 2
สัปดาห์ที่ 15 วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2564
สัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มที่ 1 การจัดการข่าวปลอม
โดย นายพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บมจ.อสมท
นางสาวกัญญภัทร สุขสมาน ผู้อำนวยการหน่วยกลยุทธ์อีเวนต์และการตลาดออนไลน์
บริษัท โมโนไซเบ้อร์ จำกัด
สัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มที่ 2
สัปดาห์ที่ 16 วันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2564
สัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มที่ 3
สัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มที่ 4
สัปดาห์ที่ 17 วันพฤหัสบดีที่ 4 – วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564
ศึกษาดูงานส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2 (4 วัน) (วันพฤหัสบดี – วันอาทิตย์)
ณ จังหวัดสงขลา – จังหวัดสตูล
สัปดาห์ที่ 18 วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564
สัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มที่ 5
สัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มที่ 6
สัปดาห์ที่ 19 วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564
สัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มที่ 7
สัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มที่ 8
สัปดาห์ที่ 20 วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564
นำเสนอผลงานโครงงานกลุ่ม 8 ผลงาน
สัปดาห์ที่ 21 วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2564
ประเมินผลการอบรม
หมายเหตุ
กำหนดการฝึกอบรมที่ได้กำหนดรายชื่อวิทยากรไว้แล้วนั้น เป็นการติดต่อประสานงานล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดการจริง อาจมีการเปลี่ยนแปลงวิทยากรหรือเปลี่ยนเวลาในการบรรยายได้ ในกรณีที่วิทยากรติดภารกิจด่วน ซึ่งการเชิญวิทยากรท่านอื่นมาทดแทน ทางสถาบันอิศราฯ จะเชิญวิทยากรที่มีคุณสมบัติและคุณวุฒิที่ใกล้เคียงกับวิทยากรท่านเดิม
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ผู้บริหารระดับสูงในหลักสูตร บยสส. รุ่นที่ 1 ได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์จากการทำงานในแต่ละสาขาชีพเพื่อนำมาปรับใช้ผ่านการระดมความคิดเห็นให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ และจัดทำเป็นโครงการเพื่อเผยแพร่ผ่านการนำเสนอในเวทีสาธารณะ
2) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในองค์กรสื่อสารมวลชน ทั้งสื่อด้านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายอื่น ๆ ได้แก่ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม องค์กร ของรัฐ องค์กรมหาชนอิสระ และภาคเอกชน ได้มีการพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ทางด้านการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข สิทธิมนุษยชน รวมทั้งวิทยาการความรู้ใหม่ ๆ และจริยธรรมสื่อ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจตลอดจนเกิดการถกแถลงในประเด็นหรือหัวข้อที่เป็นปัญหาระดับชาติ ระดับท้องถิ่นหรือในแต่ละพื้นที่ ในขณะที่เครือข่ายภาคส่วนอื่น ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หรือการร่วมกันนำเสนอแนวทางออกต่อไป ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพระหว่างองค์กรสื่อกับภาคส่วนอื่น ๆ
3) เกิดการประสานงานและมีความร่วมมือระหว่างกันในเครือข่ายของผู้เข้ารับการอบรม ทำให้มีการเปิดเวทีในการระดมความคิดเห็น หรือถกแถลง แลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นระหว่างกัน โดยเฉพาะประเด็นปัญหา แนวคิดและมุมมองที่แตกต่างกัน การเปิดโอกาสให้มีการพูดคุย ร่วมกันคิด ร่วมกันเสนอ ร่วมกันการหาทางออก จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อทำให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในขณะที่อีกฝ่ายก็พร้อมจะรับฟังข้อมูลจากอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะลดทอนกระแสที่จะนำไปสู่ความคิดเห็นที่แตกต่างและกลายเป็นความแตกแยกของสังคมจนก่อให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายได้
4) กลุ่มประชาชนที่ติดตามรับข้อมูลข่าวสาร จะได้รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพด้านองค์ความรู้และทักษะทางด้านวิชาชีพต่าง ๆ ในขณะที่สื่อมวลชนนั้นถูกมองว่ามีบทบาทสำคัญต่อผู้คนในสังคม อีกทั้งยังสามารถกำหนดทิศทางเพื่อชี้นำสังคมได้อีกด้วย ดังนั้นการมีสื่อมวลชนที่ดี มีคุณภาพมีความรู้ ความสามารถ และมีจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ย่อมจะส่องผลดีในการทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร การผลิตเนื้อหาสาระความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและส่วนร่วมในทิศทางที่ดีตามไปด้วย โดยเฉพาะแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นแทบจะตลอดเวลา ทำให้การพัฒนาเพิ่มเติมทักษะความรู้และความสามารถต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในยุคปัจจุบันนี้